ค้นหา

Tags

สีทาภายใน (27)ปัญหาสีทาอาคาร (25)กิจกรรม (18) สีทาบ้านภายนอก (16)เบเยอร์คูล (12)ปัญหาบ้านหน้าฝน (9)สีทาเหล็ก (9)begercool (8)ทาสีบ้านใหม่ (7)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (7)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีทาภายนอก (6)สีย้อมไม้ (6)สีรองพื้น (6)โลกร้อน (6)ไอเดียสี (6)ไอเดียแต่งบ้าน (6)ทาสีบ้าน (5)สีงานไม้ (5)สีทาไม้ (5)สีห้องนอน (5)โปรโมชั่น (5)ตะไคร่น้ำ (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีบ้านเย็น (4)ห้องครัว (4)อุดโป๊ว (4)เฉดสียอดนิยม (4)เชื้อรา (4) สีทาภายใน (3)color trends (3)กันรั่ว (3)ดูดวง (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)รักษ์โลก (3)สีทากันซึม (3)สีทาหลังคา (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีเหลือง (3)ฮวงจุ้ย (3)ไอเดียแต่งห้อง (3)begerxppg (2)beyours (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กันซึม (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)งานสถาปนิก (2)ซ่อมบ้าน (2)ซีลแลนท์ (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)ทินเนอร์ (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ผนังปูน (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ยูรีเทน 2K (2)รอยแตกร้าว (2)รักโลก (2)รีวิว (2)รีโนเวทบ้านเก่า (2)ฤกษ์มงคล (2)สิ่งแวดล้อม (2)สีกันร้อน (2)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (2)สีทาบ้าน (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีบ้านมงคล (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีอุตสาหกรรม (2)สีแดง (2)หน้าฝน (2)หลังคา (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2) ปัญหาบ้านหน้าฝน (1) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1) เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)beger-hdc (1)Begerpaint (1)ceramic cooling (1)color design (1)color trends 2022 (1)facebook (1)Gold Ion (1)Heavy Duty Coatings (1)lgbtq (1)Natural (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความชื้น (1)ความหมายสี (1)คาร์บอน (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ตรุษจีน (1)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำท่วม (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ประหยัดพลังงาน (1)ปลวก (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังบวมพอง (1)ผนังลอกล่อน (1)ผนังไม้ (1)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (1)ผิวปูนแห้ง (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)รอยแตก (1)รักษโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีออนไลน์ (1)รูตะปู (1)ลดหย่อนภาษี (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สนิม (1)สายมู (1)สีกันซึม (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีงานเหล็ก (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลดคาร์บน (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (1)เจอคูลบอกที (1)เฉดสีทาภายใน (1)เชื้อราบนไม้ (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โรคหน้าฝน (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

ทาสีเหล็กกัลวาไนซ์อย่างไรดี ให้แห้งไว และกันสนิมได้นาน

เหล็กกัลวาไนซ์ คือเหล็กที่มีความแข็งแรงคงทนไม่ต่างจากเหล็กทั่วไป แต่มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าเรื่องการกันสนิมได้ดี เนื่องจากผ่านกระบวนการนำเหล็กรูปพรรณ หรือเหล็กกล่องไปชุบ หรือเคลือบด้วยสังกะสี  (Zinc) ทำให้มีลักษณะเป็นสีเงินผิวมันวาว นิยมนำมาใช้กับงานกลางแจ้ง เช่น รั้ว โครงหลังคา รางน้ำฝน เสาต่างๆ หรือจุดที่ต้องโดนความชื้น หรือโดนฝนบ่อยๆ

 

เหล็กกัลวาไนซ์คืออะไร

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ
วิธีทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า
   > ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว
   > ขั้นตอนที่ 2 ทาวอชไพร์เมอร์
   > ขั้นตอนที่ 3 ทาสีรองพื้นกันสนิม
   > สีรองพื้นกันสนิมคืออะไร
   > ขั้นตอนที่ 4 ทาสีน้ำมันเคลือบเหล็ก

เทคนิคทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบใหม่ ที่แห้งไวกว่า
   > ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว
   > ขั้นตอนที่ 2 ทาสีทับหน้า ด้วย เบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน

สรุป

 

สำหรับบางคนที่ไม่ชอบสีดั้งเดิมของเหล็กที่เงินวาว ก็อาจจะหาสีน้ำมันมาทาเคลือบผิวเพื่อให้ได้เฉดสีใหม่ตามต้องการ ซึ่งในการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า จำเป็นต้องทาวอชไพร์เมอร์เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ แล้วจึงลงสีน้ำมันเคลือบอีก 2 เที่ยว ทำให้กว่าจะทาเสร็จแต่ละครั้งก็กินเวลาเป็นวัน ๆ แต่วันนี้เบเยอร์มีเทคนิคการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ใหม่ ด้วยการใช้ สีทาหล็กกัลวาไนซ์ ที่ไม่ต้องทารองพื้น อีกทั้งยังแห้งไวมากในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง มาแนะนำกันครับ

วิธีเลือกสีทาเหล็กกัลวาไนซ์ เลือกแบบไหนดี

 

ทำความรู้จักการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ แบบเดิม

การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ หรือเหล็กที่มีผิวมันวาวตามระบบเดิม จำเป็นต้องทาสีรองพื้นก่อน เนื่องจากความมันวาวของพื้นผิวจะทำให้ สีน้ำมันทับหน้ายึดเกาะ เช่น วอชไพร์เมอร์ แล้วจึงค่อยทาสีน้ำมันเคลือบผิวเหล็กเป็นชั้นสุดท้าย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว

ไม่ว่าจะทาสีเหล็กอะไร ระบบไหน จะเหล็กเก่าหรือเหล็กใหม่ จะต้องเตรียมพื้นผิวและทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดก่อนเสมอ

พื้นผิวเหล็กเก่า

  • พื้นผิวเหล็กเก่าที่ผ่านการทำสีมาแล้ว ถ้าฟิล์มสีเดิมเสื่อมสภาพ ให้ทำการขัดล้างฟิล์มสีเดิมออก โดยอาจใช้เกรียงขูดลอก หรือใช้น้ำยาลอกสีเบเยอร์ยูนิซ็อฟ 9119 แล้วจึงทำความสะอาด ให้ปราศจากฝุ่นผง คราบสกปรก และคราบไขมันต่างๆ
  • พื้นผิวเหล็กเก่าที่มีสนิม ให้ใช้กระดาษทรายหรือเครื่องขัดสนิมออกให้ได้มากที่สุด แล้วจึงทำความสะอาดพื้นผิว
  • พื้นผิวเหล็กเก่าที่ยังไม่ได้ผ่านการทำสีใดๆ หรือสีเดิมที่ทายังมีสภาพดี ให้ทำความสะอาดตามปกติ 

พื้นผิวเหล็กใหม่

  • หากพื้นผิวเหล็กมีน้ำมันเคลือบอยู่ ให้นำผ้าชุบทินเนอร์ เบเยอร์ ทินเนอร์ M-77 เช็ดน้ำมันที่เคลือบออกก่อน แล้วจึงทำความสะอาดให้พื้นผิวไม่มีคราบไขมัน หรือฝุ่นผง

 

ผลิตภัณฑ์เตรียมพื้นผิวก่อนทาสีเหล็กกัลวาไนซ์

ขั้นตอนที่ 2 การทาวอชไพร์เมอร์

กรณีที่เป็นพื้นผิวเหล็กกัลวาไนซ์ใหม่ ให้ใช้ วอชไพร์เมอร์ (Wash Primer) ที่เป็นสีรองพื้นชนิดสองส่วน A : B ทำหน้าที่ปรับสภาพพื้นผิวของบรรดาโลหะผิวมันวาวให้สากขึ้น เพื่อช่วยในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวเหล็กกับสีเคลือบ โดยหลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ เบเยอร์ วอชไพร์เมอร์ B-922 ในอัตราส่วนที่กำหนด A : B = 4 : 1 ไปทา หรือพ่น ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แล้วจึงทาสีชั้นถัดไป

 

วอชไพร์เมอร์ ทาสีเหล็กกัลวาไนซ์

 

ขั้นตอนที่ 3 การทาสีรองพื้นกันสนิม

หลังจากใช้วอชไพร์เมอร์แล้ว จะพบว่าพื้นผิวเหล็กที่มันวาวจะมีความสากขึ้น จริงๆ ในขั้นตอนนี้สามารถทาสีน้ำมันทับได้เลย เพียงแต่ถ้าอยากได้การป้องกันสนิมที่ครบที่สุด อาจจะทาสีรองพื้นเพิ่ม โดยสีรองพื้นกันสนิม จะทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสนิมใหม่ ซึ่งแม้จะเป็นเหล็กกัลวาไนซ์ที่กันสนิมได้ แต่จุดที่เป็นรอยตะปู รอยที่เจาะรู หรือจุดเชื่อมเหล็ก ตรงจุดเหล่านั้นจะสูญเสียคุณสมบัติการทนสนิมไป จึงทำให้ต้องใช้สีรองพื้นกันสนิมมาทาเคลือบไว้ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นสีรองพื้นแดงกันสนิม สีรองพื้นเทากันสนิม และสีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่ชนิดสองส่วน

  • สีรองพื้นแดงกันสนิม เป็นสีน้ำมันอัลคีดเรซินประเภทหนึ่งที่ผสมกับผงสีตะกั่วแดง(สีเสน) ให้เฉดส้มแดงๆ เหมาะกับพื้นผิวเหล็กใหม่ หรือเหล็กเก่าสภาพดี ได้แก่ เบเยอร์ชิลด์ บี-933 
  • สีรองพื้นเทากันสนิม เป็นสีน้ำมันอัลคีดเรซินประเภทหนึ่งที่ผสมกับผงสีซิงค์ฟอสเฟต ให้เฉดเทา เหมาะกับพื้นผิวเหล็กใหม่ หรือเหล็กเก่าสภาพดี ได้แก่ เบเยอร์ชิลด์ บี-911
  • สีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่ชนิดสองส่วน เป็นรองพื้นกันสนิมที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด เกรดเดียวกับสีอุตสาหกรรมที่มีความทนทานสูง ทำให้สามารถหยุดสนิมได้ทันที เหมาะกับเหล็กเก่าที่มีปัญหาสนิมอยู่ก่อนแล้ว หรือเหล็กใหม่ที่ต้องการความทนทานสูง ได้แก่ เบเยอร์ รัสท์ การ์ด ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถใช้ Beger Rust Guard แทนสีทับหน้าของงานภายในได้เลย

ปกติเราจะทาสีรองพื้นกันสนิม 1 เที่ยว และใช้เวลาแห้งประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง แล้วจึงเริ่มทาสีน้ำมันเคลือบชั้นสุดท้าย

 

สีรองพื้นกันสนิม เบเยอร์ รองพื้นแดงกันสนิม รองพื้นเทากันสนิม และรองพื้นกันสนิมอิพ็อกซี่ระบบสองส่วน

ขั้นตอนที่ 4 ทาสีเคลือบเงา

เมื่อสีรองพื้นกันสนิมแห้งแล้ว ให้ใช้สีน้ำมันตามเฉดสีที่ต้องการ ทา หรือพ่น เคลือบจำนวน 2 เที่ยว โดยเว้นระยะเวลาสีแห้งแต่ละเที่ยวประมาณ 8 - 10 ชั่วโมง เช่น สีเคลือบเงา เบเยอร์ชิลด์ ไดมอนด์ ซุปเปอร์กลอส อีนาเมล , เบเยอร์ชิลด์ ซุปเปอร์กลอส อีนาเมลเบเยอร์คูล ซุปเปอร์กลอส อีนาเมล , สีน้ำมันเบเยอร์ ดูราเมล (สำหรับพื้นผิวที่ต้องการความทนทานมากที่สุด) หรือ สีน้ำมันกระทิง เป็นต้น

 

สีน้ำมันเคลือบเงาเบเยอร์

วิธีทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ แบบใหม่

การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบใหม่ คือการใช้ผลิตภัณฑ์สีเคลือบเงาชนิดพิเศษ ที่มีส่วนผสมของรองพื้นกันสนิมมาให้ในตัว ทำให้ลดขั้นตอนการทาวอชไพร์เมอร์ หรือรองพื้นลง จึงทำให้ช่วยลดเวลาการทำงานได้เป็นอย่างมาก โดยสีทาเหล็ก 2 in 1 ประเภทนี้ จะแห้งไวกว่าการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า เป็นอย่างมาก ได้แก่ สีเคลือบเงาเหล็ก เบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน ที่เป็นสีทาเหล็กไม่ต้องทารองพื้น

 

การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบใหม่ แห้งไว กันสนิม

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว

การเตรียมพื้นผิวของการทาแบบใหม่ จะเหมือนกับการทาสีแบบเก่าเลย คือ ทำความสะอาดให้ไม่มีฝุ่น คราบสกปรกใดๆ และเพื่อให้ยึดเกาะพื้นผิวขั้นสูงสุด อาจจะหากระดาษทรายเบอร์ละเอียดมาขัดลูบบนพื้นผิวเล็กน้อย

พื้นผิวเหล็กกัลวาไนซ์เก่า

  • ถ้าสภาพผิวเดิมเสื่อม หลุดล่อน จำเป็นต้องขูดลอกสีเก่าออกก่อน หรือใช้น้ำยาลอกสีเบเยอร์ ทำการลอกสีเดิมออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นผิวตามระบบ 
  • ถ้าสภาพผิวเดิมมีสนิม ให้พยายามขัดสนิมออกให้ได้มากที่สุด แล้วจึงทำความสะอาดพื้นผิว
  • ถ้าสภาพผิวเดิมยังสมบูรณ์ หรือเป็นหลักที่ยังไม่ได้ทำสีมาก่อน

พื้นผิวเหล็กกัลวาไนซ์ใหม่

  • เหล็กกัลวาไนซ์ใหม่ส่วนมากจะมีน้ำมันเคลือบอยู่เพื่อถนอมคุณภาพเหล็ก ซึ่งก่อนจะนำเหล็กนั้นไปทาสีใหม่ จำเป็นต้องเอาน้ำมันเคลือบนั้นออก โดยให้ใช้ผ้าชุบทินเนอร์ เบเยอร์ M-77 หมาดๆ เช็ดออก  

ขั้นตอนที่ 2 ทาสีเคลือบเงา อเนกประสงค์ 2 In 1

หลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จแล้ว ก็สามารถทาสีน้ำมันทาเหล็กอเนกประสงค์ BegerShield Griptech 2 In 1 ได้เลย โดยไม่ต้องใช้วอชไพร์เมอร์ หรือรองพื้นกันสนิม จำนวน 2 เที่ยว เว้นระยะเวลาแห้งแต่ละเที่ยวเพียง 30 นาที เท่านั้น คุณก็จะได้สีเหล็กกัลวาไนซ์ที่เงาสวยโดนใจ ซึ่งข้อดีของกริปเทค คือเป็นสีสูตรอะคริลิกทำให้ทนทานกว่าสีน้ำมันทั่วไปที่เป็นแอลคีด และไม่เหลืองตัว

 

สรุป

  • ขั้นตอน การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์  แบบเก่า จะต้องเตรียมพื้นผิว ใช้วอชไพร์เมอร์ ใช้รองพื้นกันสนิม แล้วจึงทาสีน้ำมันทับหน้า
  • ในปัจจุบันสีทาเหล็กกัลวาไนซ์ ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมสีแบบใหม่ เช่น สีเบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน เป็นสีทาเหล็กไม่ต้องทารองพื้นกันสนิม และไม่จำเป็นต้องใช้วอชไพร์เมอร์ ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และลดเวลาในการจบงานได้ดีกว่าแบบเดิม เพราะไม่ต้องทาสีรองพื้นกันสนิม หรือวอชไพร์เมอร์ อีกทั้งยังแห้งไว
  • หากต้องการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ในหน้าฝน แนะนำให้ใช้วิธีใหม่จะจบงานได้ไวกว่า
SHARE :