ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (31)สีทาภายใน (27)เบเยอร์คูล (20)กิจกรรม (19) สีทาบ้านภายนอก (16)สิ่งแวดล้อม (13)รักษ์โลก (11)ไอเดียสี (11)ปัญหาบ้านหน้าฝน (10)สีทาเหล็ก (10)begercool (9)sustainability (9)โปรโมชั่น (9)ทาสีบ้าน (8)ทาสีบ้านใหม่ (8)รีโนเวทบ้านเก่า (8)ไอเดียแต่งบ้าน (8)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ซ่อมบ้าน (6)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีงานไม้ (6)สีทาภายนอก (6)สีย้อมไม้ (6)color trends (5)คาร์บอน (5)สีทาหลังคา (5)สีทาไม้ (5)สีบ้านเย็น (5)สีห้องนอน (5)เฉดสียอดนิยม (5)น้ำท่วม (4)สีคาร์บอนต่ำ (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)หลังคา (4)ห้องครัว (4)อุดโป๊ว (4)ฮวงจุ้ย (4)เชื้อรา (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)AeroTech (3)BegerReWithYou (3)กันซึม (3)กันรั่ว (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)ฤกษ์มงคล (3)สีทากันซึม (3)สีทาบ้าน (3)สีบ้านมงคล (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีอุตสาหกรรม (3)สีเบเยอร์ (3)สีเหลือง (3)อาคารเขียว (3)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)ceramic cooling (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)ความชื้น (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ตรุษจีน (2)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ยูรีเทน 2K (2)รอยแตกร้าว (2)ร้านขายสีออนไลน์ (2)รีวิว (2)ลดหย่อนภาษี (2)สัญลักษณ์รักษ์โลก (2)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีเย็น (2)สีแดง (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (2)เฉดสีทาภายใน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2)แอโรเทค (2) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)beger-hdc (1)begerclub (1)begercoin (1)carbon (1)carbonfootprint (1)color design (1)color trends 2022 (1)easy e-receipt (1)facebook (1)Gold Ion (1)Heat index (1)lgbtq (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ทินเนอร์ (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ปลวก (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังไม้ (1)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (1)ผิวปูนแห้ง (1)ฝาท่อเยาวราช (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)รูตะปู (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สายมู (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาหลังคาอเนกประสงค์ (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เต่าคูล (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โรคหน้าฝน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

สีทากันซึมคืออะไร จำเป็นต้องใช้ไหม แล้วควรเลือกยังไงดี

สีทากันซึม หรือรูฟซีล คือสีที่มีคุณสมบัติในการกันการซึมของน้ำ มักใช้ทาบนพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีโอกาสพบเจอการั่วซึมได้สูง เช่น ดาดฟ้า หลังคา หรือแม้กระทั่ง พื้น ผนัง หรือสระว่ายน้ำ ฯลฯ เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำและความชื้น ที่อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น เชื้อรา ตะไคร่น้ำ ปัญหาสีลอกล่อน ฯลฯ นอกจากนี้สีกันซึมบางตัว ยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเรื่องการสะท้อนความร้อน ช่วยลดความร้อนภายในตัวอาคารได้อีกด้วย

 

ประเภทของสีทากันซึม

โดยทั่วไปเราสามารถจำแนกสีทากันซึมได้ออกเป็น 3 ประเภท ตามชนิดของส่วนประกอบหลักที่ใช้ ได้แก่ สีทากันซึมอะคริลิก สีทากันซึมโพลียูรีเทน สีทากันซึมโพลียูรีเทนไฮบริด

สีทากันซึมอะคริลิก : เป็นสีทากันซึมชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีเบสเป็นอะคริลิก ที่มีจุดเด่นเรื่องคุณสมบัติความยืดหยุ่นสูง ทนสภาวะอากาศได้ดี สามารถป้องกันรอยแตกร้าว และกันน้ำซึมผ่านได้

สีทากันซึมโพลียูรีเทน : ถือว่าเป็นสีกันซึมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน ด้วยตัวคุณสมบัติของโพลียูรีเทนที่สามารถกันน้ำ ยืดหยุ่น และมีความทนทานที่มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด แต่ทั้งหมดต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่ากันซึมอะคริลิกถึงเกือบ 2 เท่า (เมื่อเทียบในขนาดบรรจุเท่ากัน)

สีทากันซึมโพลียูรีเทนไฮบริด : สีกันซึมประเภทนี้จะเป็นลูกผสมระหว่างอะคริลิกกับโพลียูรีเทนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะรวมจุดเด่นของสีทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน ทำให้ได้คุณสมบัติที่ดีกว่ากันซึมอะคริลิกทั่วไป อย่างไรก็ตามในด้านประสิทธิภาพก็ยังไม่ได้เท่ากันซึมโพลียูรีเทนนะครับ

นอกจากนี้ยังมีกันซึมดาดฟ้าซีเมนต์ และกันซึมยางมะตอย อีกสองประเภทที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ เนื่องจากประสิทธิภาพที่ด้อยกว่า และใช้งานยากกว่านั่นเอง

beger roofseal cool pu hybrid

เบเยอร์ รูฟซีล คูล (Beger ROOFSEAL Cool) ที่สุดของกันซึมดาดฟ้าหลังคา สูตรไฮบริดที่ประสานพลังความยืดหยุ่น และทนทานของอะคริลิกแท้และโพลียูรีเทน เข้าด้วยกันอย่างลงตัว มอบประสิทธิภาพการกันน้ำซึมได้อย่างดีเยี่ยม 100% ยืดหยุ่นสูง ทนน้ำขังนาน สะท้อนความร้อนได้จริงสูงกว่า 95% มี มอก.รับรอง จบทุกปัญหา รั่ว ร้อน ร้าว และเชื้อรา

ตารางเปรียบเทียบสีทากันซึมแต่ละประเภท

 

นอกจากสีทากันซึม ยังมีผลิตภัณฑ์กันซึมอีกหลายชนิดที่ช่วยป้องกันน้ำซึมผ่านพื้นผิวได้ นั่นก็คือน้ำยากันซึม หรือที่เรียกว่า น้ำยาเคลือบเงาใสกันซึม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีใส ทาเสร็จแล้วพื้นผิวจะเงางาม ทำหน้าที่เคลือบทับพื้นผิวทำให้น้ำไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ แต่โดยทั่วไปน้ำยาชนิดนี้มักใช้กับพื้นผิวหินล้าง/หินทราย หินธรรมชาติ กระเบื้องดินเผา บล็อคตัวหนอน คอนกรีตสแตมป์ หรือผนังซีเมนต์ที่ต้องการโชว์ปูนเปลือย เป็นต้น เช่น Beger Water Repellent Gloss A-100 และ Beger A-200 PU Hybrid

รวมไปถึงยังมีสินค้าประเภทซิลิโคนกันซึม ที่มีลักษณะเป็นหลอดใช้สำหรับอุดรอยแตกร้าว หรือรอยต่อเพื่อป้องกันน้ำรั่วครับ

สรุปแล้วต้องทากันซึมไหม หากไม่ใช้จะเกิดอะไรขึ้น

หากตึกหรือบ้านของใครมีดาดฟ้า คุณจำเป็น ต้อง ใช้สีทากันซึมด้วยนะครับ เนื่องจากพื้นปูนปกติจะกันน้ำได้น้อยมาก แล้วยิ่งหน้าฝนที่ฝนตกจนเกิดน้ำขัง ถ้าไม่ทาสีกันซึมน้ำอาจจะซึมผ่านลงมาตามรอยแตกแยกของชั้นปูน อาจซึมลงไปทำให้ฝ้าเพดานเสียหาย หรือหนักสุดคือการเกิดสนิมที่โครงสร้างเหล็กด้านในเนื้อปูน เป็นต้น

 

ปัญหาเมื่อไม่ทาสีกันซึม

สีทากันซึม เลือกอย่างไรดีให้ไม่มีปัญหาตามมา

การเลือกสีทากันซึมมาใช้ไม่ใช่เรื่องยาก ต่อให้เป็นมือใหม่ไม่ใช่ช่างก็สามารถเลือกได้ถูกต้อง หากเริ่มต้นจากปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ 

1.เลือกชนิดสีกันซึม

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น กันซึมดาดฟ้าทั้ง ประเภท อะคริลิก โพลียูรีเทน และไฮบริด ล้วนแต่มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและราคา

  • อยากได้กันซึมที่ทนที่สุดและไม่มีข้อจำกัดด้านงบ แนะนำให้ใช้ สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาชนิดโพลียูรีเทน
  • อยากได้กันซึมที่ทนทานตามมาตรฐานและคุ้มค่า แนะนำให้ใช้ สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาชนิดไฮบริด

 

2. คำนวณปริมาณสีที่ใช้กับพื้นที่ให้เหมาะสม

ไม่ว่าจะทาสีประเภทไหน การคำนวณปริมาณสีที่ใช้ เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใส่ใจ เพื่อหลีกเลี่ยงซื้อมาน้อยจนไม่พอใช้ หรือซื้อมาเยอะเกินจำเป็นนั่นเอง ซึ่งในที่พื้น 1 ตารางเมตร จะใช้สีทากันซึม 1 กิโลกรัม (ในการทาเป็นรองพื้น 1 เที่ยว และทับหน้า 2 เที่ยว)

ตัวอย่างการคำนวณ : พื้นที่ดาดฟ้าทั้งหมด 50 ตารางเมตร ต้องใช้สีกันซึมเท่าไร

เมื่อเทียบอัตรา 1 ตารางเมตร ต่อ 1 กิโลกรัม จะต้องใช้สีทากันซึม 50 กิโลกรัม

หรือซื้อสีกันซึมขนาดถึง 20 กิโลกรัม 2 ถัง และ 4 กิโลกรัม 3 ถัง (หากไม่มีไซซ์ขนาดลงตัวแนะนำให้ซื้อเผื่อเล็กน้อย)

 

3. เลือกเฉดสี

โดยทั่วไปสีทากันซึมดาดฟ้าจะมีเฉดสีที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ สีเขียว แต่สำหรับสีอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ สีเทา และสีขาว นั่นเอง ซึ่งเฉดสีจะมีผลกับเรื่องความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อคุณสมบัติ ด้วยเหตุนี้เราสามารถเลือกสีที่ชอบ และสีที่แมตช์กับสไตล์ได้เลย 

เฉดสีทากันซึม

งบประมาณการทาสีกันซึม และราคาทากันซึมต่อตารางเมตร

โดยมากสีกันซึมปริมาณ 1 กิโลกรัม จะทาได้ประมาณ 1 ตารางเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ราคากันซึมต่อตารางเมตร จะอยู่ราว ๆ ตารางเมตรละ 125 - 245 บาท (ไม่รวมค่าแรงทาสี) ขึ้นอยู่กับรุ่น ประเภท ของกันซึมแต่ละยี่ห้อครับ

 

ราคาทากันซึม

วิธีการทาสีกันซึมดาดฟ้าหลังคา

1. สำรวจพื้นที่ ๆ ต้องการทาสีกันซึม หากพื้นผิวดาดฟ้าหรือหลังคามีปัญหาจะต้องแก้ไขก่อน

  • หากพื้นรอยแตกร้าวควรซ่อมแซมด้วยอะคริลิกอุดโป๊ว
  • หากพื้นผิวมีเชื้อราตะไคร่น้ำ จะต้องขัดออกให้มากที่สุดก่อน จากนั้นให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราตะไคร่น้ำ Beger Mould Free M-001 ทาให้ชุ่มทิ้งไว้ให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออก

2. ทารองพื้น

สำหรับการทาสีรองพื้นของกันซึมสามารถเลือกใช้ได้ 2 แบบ ได้แก่ 1. ใช้รองพื้นอเนกประสงค์ B-1900 ทาที่พื้นผิว หรือ 2.ใช้สีทากันซึมเบเยอร์ รูฟซีลคูล ผสมน้ำในอัตราส่วน 3 : 1 (สี 3 น้ำ 1)  จำนวน 1 เที่ยว แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

3. ทาสีกันซึมดาดฟ้า 2 เที่ยว

นำสีทาดาดฟ้า เบเยอร์ รูฟซีล คูล พียู ไฮบริด ทาจำนวน 2 เที่ยว (ไม่ต้องผสมน้ำ) โดยเว้นระยะเวลาแห้งต่อเที่ยว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งในระหว่างการทาเที่ยวที่สอง แนะนำให้ใช้แผ่นไฟเบอร์ Beger Fiber Mesh มาปูทับแล้วทาไปพร้อมกัน เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการยึดเกาะให้ดีที่สุด

 ทั้งนี้หากเพื่อน ๆ อยากดูวิธีการใช้งานจริงแบบละเอียด สามารถดูเพิ่มเติมจากวิดีโอด้านล่างได้เลยครับ 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทาสีกันซึม

คำถาม : สามารถเอาสีทากันซึมดาดฟ้าหลังคามาทาผนังได้หรือไม่?
คำตอบ : สามารถเอามาทาได้ครับ แต่มักจะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ เนื่องจากเมื่อเทียบราคาต่อตารางเมตรแล้วจะราคาค่อนข้างสูง แนะนำให้ทาด้วยสีรองพื้นทนชื้นสูง และทาด้วยสีทับหน้าตามระบบจะดีกว่าครับ 

คำถาม : เอาสีอื่นมาทาทับ สีทากันซึม ได้หรือไม่
คำตอบ : กรณีที่เราทากันซึมบนผนัง สามารถนำสีทาบ้านชนิดอะคริลิกมาทาทับได้เลยครับ แต่ถ้าคุณทากันซึมที่พื้นแนะนำให้ใช้สีทาบ้านที่ทนการเหยียบย่ำได้มาทาแทน เช่น Beger Synotex Roofpaint

คำถาม : สีทากันซึมแตกต่างจากสีทาบ้านทั่วไปอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม
คำตอบ : ความแตกต่างระหว่างสีกันซึมและสีทาบ้าน คือคุณสมบัติการกันน้ำผ่าน ความยืดหยุ่น และการทนเหยียบย่ำ กล่าวคือสีทาบ้านจะไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้ จึงทำให้เราไม่สามารถนำสีทาบ้านไปทาแทนสีกันซึมได้นั่นเอง แต่ในทางกลับกันเราสามารถนำสีทากันซึมไปทาบ้านได้

คำถาม : เอาสีทากันซึมไปทาบ่อปลาได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ควรนำสีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาไปทาบ่อปลาภายใน เนื่องจากสีทากันซึมจะสามารถแช่น้ำได้นานสูงสุดเพียงแค่ 60 วัน เท่านั้น แต่คุณสามารถใช้สีอุตสาหกรรมชนิดโพลียูรีเทนที่มีความทนทานสูงมาใช้ทาได้ โดยขอแนะนำ Beger Unithane B-4000

คำถาม : เอาสีทากันซึมไปทาสระว่ายน้ำได้หรือไม่
คำตอบ : ในทำนองเดียวกันกับการทาสีบ่อปลา สีทากันซึมจะสามารถแช่น้ำได้นานสูงสุดเพียงแค่ 60 วัน เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เหมาะในการทากันซึมสระว่ายน้ำแต่ คุณสามารถใช้ Unithane B-4000 มาทาได้ครับ

SHARE :