ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (27)สีทาภายใน (27)กิจกรรม (18) สีทาบ้านภายนอก (16)เบเยอร์คูล (12)สิ่งแวดล้อม (11)ปัญหาบ้านหน้าฝน (9)รักษ์โลก (9)สีทาเหล็ก (9)begercool (8)sustainability (7)ทาสีบ้านใหม่ (7)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ไอเดียสี (7)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีทาภายนอก (6)สีย้อมไม้ (6)ไอเดียแต่งบ้าน (6)คาร์บอน (5)สีงานไม้ (5)สีทาไม้ (5)สีห้องนอน (5)โปรโมชั่น (5)ซ่อมบ้าน (4)ทาสีบ้าน (4)รีโนเวทบ้านเก่า (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีบ้านเย็น (4)ห้องครัว (4)อุดโป๊ว (4)เฉดสียอดนิยม (4)เชื้อรา (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)color trends (3)กันรั่ว (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)สีคาร์บอนต่ำ (3)สีทากันซึม (3)สีทาหลังคา (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีเหลือง (3)ฮวงจุ้ย (3)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กันซึม (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)ความชื้น (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)ทินเนอร์ (2)น้ำท่วม (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ยูรีเทน 2K (2)รอยแตกร้าว (2)รีวิว (2)ฤกษ์มงคล (2)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (2)สีทาบ้าน (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีบ้านมงคล (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีอุตสาหกรรม (2)สีเบเยอร์ (2)สีแดง (2)หลังคา (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เฉดสีทาภายใน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2) ปัญหาบ้านหน้าฝน (1) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)beger-hdc (1)BegerReWithYou (1)carbon (1)carbonfootprint (1)ceramic cooling (1)color design (1)color trends 2022 (1)facebook (1)Gold Ion (1)Heat index (1)lgbtq (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ตรุษจีน (1)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ปลวก (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังบวมพอง (1)ผนังลอกล่อน (1)ผนังไม้ (1)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (1)ผิวปูนแห้ง (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีออนไลน์ (1)รูตะปู (1)ลดหย่อนภาษี (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สัญลักษณ์รักษ์โลก (1)สายมู (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีกันร้อน (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีงานเหล็ก (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อาคารเขียว (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โรคหน้าฝน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) คืออะไร ทำไมภาคธุรกิจต้องเสียภาษี

ภาษีคาร์บอน

เนื่องด้วยเป้าหมาย Net Zero Emission หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของไทยในปี 2608 (ค.ศ. 2065) ภาษีคาร์บอนจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจมากขึ้น โดยเป็นกลไกควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุโลกร้อนและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ยกระดับสินค้าคาร์บอนต่ำและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ รวมถึงช่วยปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและรักษ์โลกมากขึ้น ก่อนจะไปถึงวันที่เรียกเก็บภาษีคาร์บอนอย่างจริงจัง มาทำความเข้าใจภาษีตัวนี้กัน

 

ภาษีคาร์บอน คืออะไร?

ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) คือ ค่าธรรมเนียมหรือภาษีซึ่งภาครัฐบาลเรียกเก็บจากองค์กรภาคธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการบริการในปริมาณมากเกินเกณฑ์ ไม่ว่าจะ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) หรือก๊าซกลุ่มฟลูออรีน (G-Gases) โดยเป็นไปตามหลักการ ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pays Principle)  

เป้าหมายเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขององค์กรภาคธุรกิจและผู้บริโภค เอื้อให้เกิดการพัฒนา เพิ่มศักยภาพ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ทำให้การผลิตสินค้าคาร์บอนต่ำเป็นจริง พร้อมผู้บริโภคที่ตระหนักรู้และใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือโลกร้อนที่เราและลูกหลานในอนาคตต้องเผชิญ

โดยหลักแล้วประเภทของภาษีคาร์บอนแบ่งออกเป็น 2 ทาง ได้แก่

1) ภาษีคาร์บอนทางตรง (Direct Emission)

คิดคำนวนจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกระบวนการผลิตสินค้าโดยตรง จึงมีอัตราภาษีสูงกว่า เช่น การผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล การเผาไหม้ของเครื่องจักรในโรงงาน การเผาขยะ การบำบัดน้ำเสีย การเผาไหม้ของยานพาหนะ หรือการผลิตปูนซีเมนต์และเคมีภัณฑ์ 

ืภาษีคาร์บอนทางตรง

 

2) ภาษีคาร์บอนทางอ้อม  (Indirect Emission)

คิดคำนวนจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการบริโภค เช่น การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร การใช้ผลิตภัณฑ์ก่อก๊าซเรือนกระจกอย่างเหล็ก กระดาษ สี เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า   

ืภาษีคาร์บอนทางอ้อม

 

กรมสรรพสามิตผู้มีบทบาทในเรื่องนี้จะปรับใช้มาตรการภาษีคาร์บอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าจะเริ่มในปีงบประมาณ 2568 เพื่อผลักดัน ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเตรียมพร้อมรับมือและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ จนก้าวเข้าสู่การเป็นการกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี 2608

ในต่างประเทศยังนำร่องเรียกเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดน (Carbon Border Tax) ซึ่งเป็นภาษีนําเข้าที่เรียกเก็บจากประเทศที่ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายภาษีคาร์บอน ป้องกันสินค้าคาร์บอนสูงไหลเข้ามาในประเทศ เสมือนการกระตุ้นให้นานาประเทศที่ยังไม่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหันมาสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และยังอาจช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

ภาษีคาร์บอน กระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคหรือไม่

เมื่อพูดว่าเก็บภาษีก็อาจมีความกังวลว่าอาจกระทบถึงผู้บริโภค แต่ภาษีคาร์บอนในระยะแรกตามกำหนดของกรมสรรพสามิตจะไม่กระทบหรือผลักภาระไปให้ผู้บริโภค เนื่องจากจะนำภาษีสรรพสามิตที่เก็บกันอยู่แล้ว อย่าง ภาษีรถยนต์ และภาษีน้ำมัน มาผูกกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนแล้วแปลงเป็นภาษีคาร์บอน เน้นจัดเก็บภาษีจากต้นน้ำซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้กันในระดับสากล โดยคิดคำนวณจากปริมาณคาร์บอนส่วนเกินร่วมกับอัตราภาษีคาร์บอน

อย่างการจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ผ่านมาก็ถือเป็นภาษีคาร์บอนทางอ้อมจากการเผาไหม้ฟอสซิล โดยจัดเก็บตามกระบอกสูบ ปัจจุบันเปลี่ยนไปเก็บทางตรงจากปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีแนวทางเบื้องต้นให้รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนสูงเสียภาษีสูงตาม ซึ่งอาจต้องเสียเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตด้วย ดังนี้

  • รถยนต์ปล่อยคาร์บอนเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษี 35% ในปี 2026 และ 38% ในปี 2030
  • รถยนต์ปล่อยคาร์บอน 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษี 30% ในปี 2026 และ 33% ในปี 2030
  • รถยนต์ปล่อยคาร์บอน 121-150 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษี 25% ในปี 2026 และ 29% ในปี 2030
  • รถยนต์ปล่อยคาร์บอน 101-120 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษี 22% ในปี 2026 และ 26% ในปี 2030  
  • รถยนต์ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร จะเสียภาษี 13% ในปี 2026 และ 15% ในปี 2030  

และสำหรับภาษีน้ำมัน ตามอัตราปกติน้ำมันดีเซล 1 ลิตร จะถูกเก็บภาษีที่ 6.44 บาท โดยใน 1 ลิตรนี้ ดีเซลจะปล่อยคาร์บอนราว 0.0026 ตันคาร์บอน ซึ่งปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมานี้เองที่จะนำมาคิดเป็นภาษีคาร์บอนต่อไป

หากยึดตามนโยบายเก็บภาษีคาร์บอนเริ่มแรกจากกรมสรรพสามิต ในอัตราส่วน 200 บาทต่อตันคาร์บอน (ราว 6 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอน) จะเท่ากับว่า ในน้ำมันดีเซล 1 ลิตร จะต้องเสียภาษีคาร์บอนเฉลี่ย 0.46 บาท หรือ 46 สตางค์ ซึ่งใกล้เคียงกับสิงคโปร์ ประเทศแรกในอาเซียนที่เก็บภาษีคาร์บอน โดยอาจมีการปรับภาษีเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดในอนาคต 

ภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์

 

จะเห็นได้ว่า การนำภาษีคาร์บอนไปผูกกับภาษีสรรพสามิตนี้จะไม่เพิ่มภาระภาษีให้กับผู้บริโภค และยังช่วยให้ภาคธุรกิจไม่เสียประโยชน์ด้านการส่งออกระหว่างรอ พ.ร.บ. โลกร้อน (Climate Change) หรือพ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตอันใกล้

ที่สำคัญ การผูกภาษีคาร์บอนกับภาษีสรรพสามิตเป็นการแก้ไขกฏกระทรวงซึ่งสามารถดำเนินการได้เลย เสนอคณะรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องออกเป็นพ.ร.บ. ใหม่ซึ่งใช้เวลาดำเนินการนานกว่า   

 

ภาษีคาร์บอนช่วยโลกอย่างไร

ภาษีคาร์บอนนั้นมีประโยชน์ต่อโลกของเราอย่างมาก เพราะภาษีนี้มีจุดกำเนิดมาก็เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มาจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศ ภาษีคาร์บอนจึงมีส่วนช่วยควบคุมและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวม ทำให้โลกได้รับผลกระทบน้อยลง ชะลอภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ในอนาคต

นอกเหนือจากประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้ว ภาษีคาร์บอนยังมีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในหลายแง่มุม เช่น

  • กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปล่อยคาร์บอนต่ำ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  • เอื้อต่อการแข่งขันทางการค้าหรือขยายตลาด ผิดกับสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีภาระทางภาษีมากกว่า
  • ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดอย่าง แสงอาทิตย์ ลม หรือน้ำ ช่วยลดการใช้พลังงานธรรมชาติที่ก่อก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ต้นทุนในส่วนนึ้ลดต่ำลงในระยะยาว

ภาษีคาร์บอนที่ถูกจัดเก็บในแต่ละประเทศอาจมีแนวทาง ข้อบังคับ หรืออัตราภาษีที่ต่างกันไป ถือเป็นเรื่องที่ภาคธุรกิจจะต้องเรียนรู้ ปรับตัว เพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและเปิดโอกาสการค้ารูปแบบใหม่ ๆ ในเวทีโลก 

และเราก็จะได้เห็นว่า ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะโลกร้อน โลกเดือด ก๊าซเรือนกระจก หรือปริมาณคาร์บอน ล้วนเชื่อมโยง ส่งผลกระทบต่อกัน นานาประเทศจึงเห็นพ้องต้องกันว่าถึงเวลาหันกลับมารับผิดชอบและดูแลโลกนี้ให้ดี เพื่อให้เป้าหมาย Net Zero เป็นจริงเร็วขึ้น และสามารถรอดพ้นจากผลกระทบที่เลวร้ายไปได้

Net zero

SHARE :