ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (27)สีทาภายใน (27)กิจกรรม (18) สีทาบ้านภายนอก (16)เบเยอร์คูล (12)สิ่งแวดล้อม (11)ปัญหาบ้านหน้าฝน (9)รักษ์โลก (9)สีทาเหล็ก (9)begercool (8)sustainability (7)ทาสีบ้านใหม่ (7)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ไอเดียสี (7)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีทาภายนอก (6)สีย้อมไม้ (6)ไอเดียแต่งบ้าน (6)คาร์บอน (5)สีงานไม้ (5)สีทาไม้ (5)สีห้องนอน (5)โปรโมชั่น (5)ซ่อมบ้าน (4)ทาสีบ้าน (4)รีโนเวทบ้านเก่า (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีบ้านเย็น (4)ห้องครัว (4)อุดโป๊ว (4)เฉดสียอดนิยม (4)เชื้อรา (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)color trends (3)กันรั่ว (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)สีคาร์บอนต่ำ (3)สีทากันซึม (3)สีทาหลังคา (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีเหลือง (3)ฮวงจุ้ย (3)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กันซึม (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)ความชื้น (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)ทินเนอร์ (2)น้ำท่วม (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ยูรีเทน 2K (2)รอยแตกร้าว (2)รีวิว (2)ฤกษ์มงคล (2)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (2)สีทาบ้าน (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีบ้านมงคล (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีอุตสาหกรรม (2)สีเบเยอร์ (2)สีแดง (2)หลังคา (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เฉดสีทาภายใน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2) ปัญหาบ้านหน้าฝน (1) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)beger-hdc (1)BegerReWithYou (1)carbon (1)carbonfootprint (1)ceramic cooling (1)color design (1)color trends 2022 (1)facebook (1)Gold Ion (1)Heat index (1)lgbtq (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ตรุษจีน (1)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ปลวก (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังบวมพอง (1)ผนังลอกล่อน (1)ผนังไม้ (1)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (1)ผิวปูนแห้ง (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีออนไลน์ (1)รูตะปู (1)ลดหย่อนภาษี (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สัญลักษณ์รักษ์โลก (1)สายมู (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีกันร้อน (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีงานเหล็ก (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อาคารเขียว (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โรคหน้าฝน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

รู้จักการก่อสร้างแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามหลักอาคารเขียว

ก่อสร้างรักษ์โลก

การก่อสร้างอาคารหรือตึกใด ๆ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างผลกระทบต่อโลกอย่างมาก ไม่ว่าจะการใช้วัสดุที่ส่งผลเสียต่อธรรมชาติ การปล่อยมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดออกไซด์ขณะก่อสร้าง ไปจนถึงการสร้างขยะจำนวนมากหลังการก่อสร้าง การก่อสร้างแบบรักษ์โลกจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อชะลอหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว มาศึกษาไปพร้อมกันในบทความนี้เลย

จากกิจกรรมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งหมดทั่วโลก ราว 37% มาจากภาคอาคารและการก่อสร้าง หากแยกลึกลงไปกว่านั้นเราจะพบว่า คาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง คอนกรีต เหล็ก อิฐ กระจก รวมถึงผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคารมีมากถึง 11% สอดคล้องกับภาพรวมของโลกที่เรามองเห็นคือ เมืองกำลังขยายตัวและเติบโตไปพร้อมกับความแปรปรวนของโลกที่มากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างหันมารับผิดชอบและปรับตัวภายใต้แนวคิดของการก่อสร้างที่ยั่งยืนนั่นเอง 

 

การก่อสร้างแบบรักษ์โลกคืออะไร

อย่างที่บอกว่า รักษ์โลก ก็ต้องเป็นการก่อสร้างอย่างยั่งยืนที่ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา โดยอาจนำเทคโนโลยี นวัตกรรม วัสดุ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เสริมการก่อสร้างทั้งก่อนและหลังให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยาวนานยิ่งขึ้น แต่สร้างผลเสียต่อโลกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น

  • เลือกวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ปล่อยคาร์บอนต่ำ ช่วยประหยัดพลังงาน และมีความทนทานสูง หรือวัสดุก่อสร้างที่มาจากการรีไซเคิล ช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง
  • ซ่อมแซมดีกว่ารื้อถอน (Adaptive Reuse) เพราะการก่อสร้างใหม่จะเพิ่มปริมาณการปล่อย CO2 จากกระบวนการตั้งแต่ต้นยันจบ ขณะที่การซ่อมแซมจะปล่อย CO2 ออกมาต่ำกว่า
  • ก่อสร้างอาคารสีเขียว (Green Building) ตามเกณฑ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่กำหนด
  • จำกัดวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เพื่อควบคุมปริมาณของเสีย หรือใช้สีอเนกประสงค์หรือสี 2in1 ลดปริมาณการใช้น้ำและขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง
  • การจัดการสถานที่ก่อสร้าง เช่น การบำบัดน้ำในสถานที่ ห้ามสูบบุหรี่ การแยกขยะ บรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุอาหาร และรีไซเคิลหลังใช้งาน

5R Green Building

 

ไม่ใช่แค่ตัวอาคาร แต่เปลือกอาคารก็สำคัญ

เมื่อพูดถึงการสร้างอาคาร หลายคนอาจมองเพียงภาพภายในตัวอาคาร แต่ความจริงเปลือกอาคารหรือกรอบอาคาร (Facade) อย่าง ระเบียง หน้าต่าง กันสาด ชายคา ลายปูน บัวประดับผนัง เสาพอก ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกเหนือจากการเพิ่มความสวยงามและความน่าดึงดูดให้อาคาร ปกป้องอาคารจากสภาพแวดล้อมภายนอก ยังมีส่วนช่วยอย่างมากในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยสามารถออกแบบทิศทางลม ความชื้น อากาศ และแสงแดดที่สาดกระทบเข้ามาในอาคารได้ จึงเอื้อต่อการลดใช้พลังงานและลดความร้อนได้เป็นอย่างดี

โดยการพัฒนาอาคารเขียว (Green Building) ของไทยภายใต้เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทย (TREES) ซึ่งการันตีความเป็นอาคารประหยัดพลังงานและรักษ์โลกตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle) ของตัวอาคาร ก็ให้ความสำคัญกับประเด็นความร้อนในอาคารด้วยเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเขตร้อนที่ได้รับผลกระทบทวีคูณในช่วงฤดูที่มีอากาศร้อนจัด

ซึ่งความร้อนที่สะสมภายในอาคารนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การแผ่ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การนำความร้อนจากหลังคา ผนังอาคาร อากาศภายนอก อุปกรณ์ในอาคาร ความร้อนจากผู้ใช้อาคาร รวมถึงการนำความร้อนจากพื้นอาคาร 

โดยการประเมินอาคารตามเกณฑ์ TREES จะประกอบด้วยหลายหมวดด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ หมวดพลังงาน ซึ่งพิจารณาเกี่ยวกับการถ่ายเทความร้อนในอาคารที่เรียกว่า RTTV และ OTTV โดยคิดคำนวณในหน่วยวัตต์ต่อตารางเมตร (W/m2)

RTTV และ ฯธธฮ

1) ค่า RTTV (Roof Thermal Transfer Value)

หรือค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาในส่วนที่มีการปรับอากาศในอาคารแต่ละประเภท โดยแสดงปริมาณความร้อนเฉลี่ยที่ผ่านหลังคาเข้าสู่ตัวอาคาร ซึ่งจะช่วยเสริมการประหยัดพลังงานจากการออกแบบและเลือกใช้วัสดุเปลือกอาคารที่กันความร้อนสูง โดยเน้นวัสดุหลังคาและการออกแบบหลังคาที่มีฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดาน

ตามข้อกำหนดของ TREES จะมีเกณฑ์ฉบับใหม่ 2562 สำหรับค่า RTTV อยู่ 3 ระดับ ดังนี้

  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 6 W/m2 จะได้ระดับ Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 5 W/m2 จะได้ระดับ Very Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 4 W/m2 จะได้ระดับ Excellent

2) ค่า OTTV (Overall Thermal Transfer Value)

หรือค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศในอาคารแต่ละประเภท โดยแสดงปริมาณความร้อนเฉลี่ยที่ผ่านผนังทึบและผนังโปร่งแสงทุกทิศ ถือเป็นเกณฑ์รับรองที่ช่วยเสริมการประหยัดพลังงานเช่นเดียวกันกับค่า RTTV แต่จะเน้นการออกแบบผนังและหน้าต่าง การเลือกใช้สี และการกันแดดให้กับผนังและหน้าต่างภายนอก

ตามข้อกำหนดของ TREES จะมีเกณฑ์สำหรับค่า OTTV อยู่ 3 ระดับ ดังนี้

  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 30 W/m2 จะได้ระดับ Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 25 W/m2 จะได้ระดับ Very Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 20 W/m2 จะได้ระดับ Excellent

RTTV และ OTTV สำหรับบ้านและทาวเฮ้าส์

สำหรับบ้านและทาวเฮ้าส์สามารถคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนกรอบอาคารทั้ง 4 ทิศ ตามงานวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) โดยจะมีเกณฑ์ดังนี้

ค่า RTTV ของบ้านและทาวเฮ้าส์

  • ห้องนอนที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 15 W/m2 จะได้ระดับ Good, 5-10 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 5 W/m2 จะได้ระดับ Excellent 
  • ห้องนั่งเล่นและห้องทำงานที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 12 W/m2 จะได้ระดับ Good, 4-8 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 4 W/m2 จะได้ระดับ Excellent

ค่า OVTT ของบ้านและทาวเฮ้าส์

  • ห้องนอนที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 20 W/m2 จะได้ระดับ Good, 10-15 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 10 W/m2 จะได้ระดับ Excellent 
  • ห้องนั่งเล่นและห้องทำงานที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 25 W/m2 จะได้ระดับ Good, 15-20 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 15 W/m2 จะได้ระดับ Excellent 

แปลนบ้าน อาคารเขียว

ทั้งนี้ มาตรฐาน TREES ยังคิดคะแนนจากหมวดหมู่อื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะ ผังพื้นที่ ภูมิทัศน์ วัสดุก่อสร้าง หรือสภาพแวดล้อมในอาคาร แต่การพิจารณาด้านพลังงานหรือความร้อนด้วยก็ถือเป็นการให้ความสำคัญเทียบเท่าประเด็นหลักอื่น ๆ เนื่องจากความร้อนที่เข้ามาสู่ตัวบ้านจากหลังคาหรือผนังล้วนส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่มากตาม การได้มาซึ่งพลังงานนั้นก็มาพร้อมกับปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในปัจจุบันนั่นเอง  

การเลือกวัสดุเปลือกผิวอาคารจึงจำเป็นต้องพิจาณาให้ดี ยกตัวอย่างเช่นการเลือกสีทาบ้านที่เหมาะสมก็จะช่วยสกัดกั้นความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ประหยัดพลังงานได้ดี และเพื่อการรักษ์โลกอย่างแท้จริง แนะนำให้เลือกใช้สีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างสีเบเยอร์ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจัดการถังสีอย่างยั่งยืน การันตีโดยมาตรฐานและฉลากด้านสิ่งแวดล้อม เช่น LEED, WELL, ฉลากลดโลกร้อน หรือฉลากเขียว ผู้บริโภคจึงแน่ใจได้เลยว่าสีเบเยอร์จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและมีส่วนผลักดันการก่อสร้างแบบรักษ์โลก เพื่อให้เป้าหมาย Net Zero เป็นจริงในอนาคต

SHARE :