ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (28)สีทาภายใน (27)กิจกรรม (19) สีทาบ้านภายนอก (16)เบเยอร์คูล (15)สิ่งแวดล้อม (13)รักษ์โลก (11)sustainability (9)ปัญหาบ้านหน้าฝน (9)สีทาเหล็ก (9)ไอเดียสี (9)begercool (8)ทาสีบ้านใหม่ (7)ปัญหาสีงานไม้ (7)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ไอเดียแต่งบ้าน (7)รีโนเวทบ้านเก่า (6)สีทาภายนอก (6)สีย้อมไม้ (6)คาร์บอน (5)ซ่อมบ้าน (5)ทาสีบ้าน (5)สีงานไม้ (5)สีทาไม้ (5)สีห้องนอน (5)เฉดสียอดนิยม (5)โปรโมชั่น (5)น้ำท่วม (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีบ้านเย็น (4)ห้องครัว (4)อุดโป๊ว (4)เชื้อรา (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)BegerReWithYou (3)color trends (3)กันรั่ว (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)สีคาร์บอนต่ำ (3)สีทากันซึม (3)สีทาหลังคา (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีอุตสาหกรรม (3)สีเหลือง (3)อาคารเขียว (3)ฮวงจุ้ย (3)AeroTech (2)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)ceramic cooling (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กันซึม (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)ความชื้น (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)ทินเนอร์ (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ยูรีเทน 2K (2)รอยแตกร้าว (2)รีวิว (2)ฤกษ์มงคล (2)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (2)สีทาบ้าน (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีบ้านมงคล (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีเบเยอร์ (2)สีแดง (2)หลังคา (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เฉดสีทาภายใน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2)แอโรเทค (2) ปัญหาบ้านหน้าฝน (1) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)beger-hdc (1)begerclub (1)begercoin (1)carbon (1)carbonfootprint (1)color design (1)color trends 2022 (1)facebook (1)Gold Ion (1)Heat index (1)lgbtq (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ตรุษจีน (1)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ปลวก (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังบวมพอง (1)ผนังลอกล่อน (1)ผนังไม้ (1)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (1)ผิวปูนแห้ง (1)ฝาท่อเยาวราช (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีออนไลน์ (1)รูตะปู (1)ลดหย่อนภาษี (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สัญลักษณ์รักษ์โลก (1)สายมู (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีงานเหล็ก (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีเย็น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เต่าคูล (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โรคหน้าฝน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

โอโซน (Ozone) คืออะไร ประโยชน์ต่อโลก และผลกระทบเมื่อโอโซนลดลง

ozone day

เมื่อนึกถึง โอโซน (Ozone) หลายคนก็มักนึกถึงอากาศบริสุทธิ์ แต่จริง ๆ แล้ว โอโซนนั้นเป็นพิษต่อมนุษย์ แต่มีประโยชน์และสำคัญกับโลกของเราอย่างมากจนนานาประเทศ จัดตั้งอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซนขึ้นมาเป็นข้อกำหนดร่วมกัน จนทำให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปี กลายเป็นวันโอโซนโลกจวบจนปัจจุบัน มาทำความรู้จักโอโซนกันให้มากขึ้นกัน

 

โอโซน (Ozone: O3) คืออะไร

โอโซน (O3) เป็นก๊าซไวต่อการเกิดปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างฟ้าผ่า ฟ้าแลบ หรือแสงอาทิตย์ และมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) หรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง โดยพบมากกว่า 90% ในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) เหนือระดับพื้นดินประมาณ 10-50 กิโลเมตร อีก 10% จะอยู่ในชั้นโทรโพสเฟียร์หรือเหนือพื้นดินราว 0-10 กิโลเมตร

 

โอโซน

 

ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่กรองหรือกั้นรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะรังสี UV-B ที่มีช่วงคลื่นยาวราว 280-320 นาโนมิเตอร์ ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในโลกอย่างมาก จึงเรียกได้ว่าโอโซนมีส่วนปกป้องพืช สัตว์ มนุษย์จากรังสีอันตรายนั่นเอง และกระบวนการนี้ยังส่งผลให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศนี้เพิ่มสูงขึ้นด้วย  

ยิ่งไปกว่านั้น โอโซนยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค สลายก๊าซพิษ ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ ฟอกสี และบำบัดน้ำเสีย จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย

แต่เกริ่นไปแล้วว่า โอโซนเป็นพิษต่อมนุษย์ โดยโอโซนระดับความสูง 0-2 กิโลเมตรจากพื้นดิน (Ground Level Ozone) ซึ่งนับเป็น 10% จากทั้งหมด มาจากไอเสียของยานพาหนะหรือโรงงานอุตสาหกรรม ปฏิกิริยาของสาร VOCs จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือมลพิษทางอากาศ ดังนั้น ที่เราชอบพูดกันว่า “สูดโอโซนบริสุทธิ์” จึงเป็นเรื่องเข้าใจผิดและไม่สามารถทำได้ หากเราสูดโอโซนเหล่านี้เข้าไปอาจกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อย่างจมูก คอ และปอด ทำให้เกิดอาการไอ ระคายคอ คัดจมูก หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอกตามมา    

โดยความรุนแรงของอาการก็จะแตกต่างกันไปตามปริมาณโอโซนที่เข้าสู่ร่างกาย คนบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงอาการรุนแรงหรือแย่ลงได้เร็ว โดยเฉพาะผู้ป่วยหอบหืด หลอดลมอักเสบ และถุงลมโป่งพอง เด็กที่ปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ และผู้สูงอายุ  

 

ผลกระทบของการสูญเสียโอโซน

แม้โอโซนก่อให้เกิดอันตรายต่อเรายามสูดเข้าไปโดยตรง แต่ต่อโลกไม่เป็นแบบนั้น เพราะการสูญเสียโอโซนหรือชั้นโอโซนบางลงส่งผลให้บาเรียของโลกหายไป รังสีอัลตราไวโอเลตที่ควรถูกดูดซับจะส่งตรงถึงสิ่งมีชีวิตมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง ต้อเนื้อ ต้อลมในคน พืชผลแคระแกรน วัสดุเสื่อมสภาพ หักพังได้ไวขึ้น

Oz0ne 1980, 2000, 2020

โดยสาเหตุของการสูญเสียโอโซนในช่วงหลายทศวรรษก่อนก็มาจากสารเคมีในภาคอุตสาหกรรมหรือมาจากน้ำมือมนุษย์เรานี่เอง โดยสารที่เป็นตัวการทำลายโอโซนนั้นคือ สารฮาโลคาร์บอน (Halocarbon) ที่ประกอบด้วยคลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) โบรมีน(Br) คาร์บอน (C) และไฮโดรเจน (H) ซึ่งจัดเป็นกลุ่มก๊าซเรือนกระจกด้วย ได้แก่

  • สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbons: CFCs) 
  • สารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbons: HCFCs) 
  • สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbons: HFCs) 
  • สารเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbons: PFCs)
  • สารซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (Sulphur Hexafluoride: SF6)

โดยสาร CFCs อย่าง ฟรีออน-12 (CCl2F2) ซึ่งเป็นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสารในกระป๋องสเปรย์ รวมถึงเป็นของเสียจากการผลิตโฟมพลาสติก ถือเป็นสารหลักที่ถูกแบนอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายโอโซน จนเกิดเป็นรูโหว่โอโซนทั่วโลก จนรังสี UV ส่องตรงถึงสิ่งมีชีวิตในโลก 

นานาประเทศจึงทำข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่า พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocal) ในปี 1987 ในการลดและเลิกการผลิตและใช้สาร CFCs เพื่อช่วยลดปัญหาช่องโหว่โอโซน และฟื้นฟูชั้นโอโซนให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง ซึ่งตามคาดการณ์แล้วจะกลับมาสมบูรณ์ในปี 2070 

ปัจจุบันตามรายงานฉบับใหม่ขององค์การสหประชาชาติระบุว่า ขณะนี้ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ โดยในปี 2040 จะฟื้นฟูเต็มที่สำหรับที่อื่น ๆ ทั่วโลก ปี 2045 สำหรับขั้วโลกเหนือ และปี 2066 สำหรับขั้วโลกใต้

ด้วยเล็งเหตุความสำคัญที่มากมายของโอโซน สีเบเยอร์จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลกผ่านเทคโนโลยีการผลิตสียุคใหม่ AVID (Automatic Vacuum Inline Dispersion) เครื่องผลิตอินไลน์อัตโนมัติระบบสุญญากาศ ทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

AVID

 

โดยกระบวนนการนี้ลดการใช้พลังงานได้ถึง 85.39% ต่อปี ใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุโอโซนที่ลดลงสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 335 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และยังมีระบบใช้น้ำหมุนเวียน ช่วยลดปริมาณน้ำเสีย 100% ส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสูงสุด พร้อมรักษาโลกให้น่าอยู่เพื่อลูกหลานของเราในวันข้างหน้า

SHARE :