สีเบอร์ สีเบส และ สีผสม หลายท่านที่กำลังจะซื้อสีทาบ้าน อาจจะเคยได้ยินคำเหล่านี้จากพนักงานขายสี หรือเห็นจากเว็บไซต์ขายสีต่าง ๆ ซึ่งทั้งสามคำนี้เป็นคำศัพท์พื้นฐานที่ใช้เรียก ประเภทของเฉดสี แต่ถ้าใครไม่เคยทาสีบ้านมาก่อนอาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร
สีเบอร์
สีเบอร์ คือประเภทของเฉดสีที่ถูกผสมเสร็จพร้อมใช้จากโรงงานผลิต โดยรหัสของสีเบอร์ของเบเยอร์จะเป็นรหัสตัวเลข 4 ตัว อาจจะมีอักษรภาษาอังกฤษก่อนหน้า เช่น รหัสสี 1517 , AI 1517, 2517 , E 2517 , 4517 สีเบอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเฉดสีขายดี หรือเฉดสียอดนิยม เราสามารถดูเฉดสี และรหัสสีได้จากแคตตาล็อกของสินค้านั้น ๆ
ข้อดีของการเลือกใช้สีเบอร์ คือ ในรุ่นและขนาดความจุเดียวกัน ไม่ว่าจะเฉดสีไหนราคาจะเท่ากันทุกเฉดสี ยกเว้นบางเฉดที่เป็นแม่สี หรือเฉดสีเข้ม ๆ เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำ น้ำเงิน อาจจะมีราคาเพิ่มขึ้นมาแต่ก็ยังถูกกว่าเฉดสีผสมที่ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันสีเบอร์บางเฉดสีสามารถสั่งผสมจากเครื่องผสมสีได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้โรงงานผลิตเพียงอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน
สีเบส
สีเบส (ฺBase) คือชนิดของสีตั้งต้นที่เอาไว้ใช้ผสมกับแม่สี เพื่อให้เกิดเป็นเฉดสีอื่น ๆ ทั้งในการผลิตสีที่โรงงาน หรือจากเครื่องผสมสีอัตโนมัติระบบดิจิทัล สีเบสจะมีเนื้อสีขาวล้วน แบ่งได้ 4 ชนิด ได้แก่ สีเบส A สีเบส B สีเบส C และสีเบส D ตามระดับความขาวมากไปน้อย โดยสีเบสจะมีผลต่อระดับความเข้มของเฉดสีผสม
- สี Base A มีความขาวสว่างมากที่สุด ใช้สำหรับผสมให้เกิดเฉดสีอ่อน ๆ ระดับ 1 - 2 หรือสีขาว Off-White โดยบ้านสีขาวส่วนใหญ่จะใช้สีเบสชนิดนี้ในการทา
- สี Base B จะมีความขาวดรอปลงมา ใช้ผสมเป็นเฉดสีที่เข้มข้นมาอีกในระดับ 2 - 4
- สี Base C จะขาวน้อยลงมาอีก เหมาะกับการใช้ผสมที่เข้มในระดับ 4 - 5
- สี Base D จะมีความขาวน้อยที่สุด ใช้ผสมสีสดมาก ๆ หรือ เข้มมาก ๆ ในระดับ 5 - 6 เช่น สีแดง สีเหลือง สีส้ม สีดำ สีเทาเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น
ข้อควรทราบ
ในการใช้งานจริงคุณไม่จำเป็นต้องเลือกว่าจะใช้สี BASE ตัวไหน เนื่องจากเครื่องผสมสีจะกำหนดมาให้เองโดยอัตโนมัติเลยว่า ถ้าต้องการได้เฉดสีแบบนี้ต้องใช้สีเบสชนิดใดอย่างอัตโนมัตินั่นเอง
สีผสม
สีผสม (Mixed Color) เกิดจากการผสมสีเบส กับแม่สี แล้วนำไปเขย่าที่เครื่องผสมสี จนได้ออกมาเป็นเฉดสีที่ต้องการตามแผ่นพัดสี (Fandeck) ในปัจจุบันเฉดสีทั้งหมดของเบเยอร์ มีให้เลือกผสมตามความต้องการรวมมากกว่า 1,200 เฉดสี
@begerpaints เปลี่ยนสีห้องทั้งที ต้องสีบ้านเย็น เบเยอร์คูล ทั้งสวยทั้งทน เฉดสีหลากหลาย #ผสมสี #สีทาบ้าน #สีเบเยอร์ #สีเบเยอร์คูล #satisfying #room #home#begercool ♬ ก็ชอบอ่ะครับ (Puppy Love) Challenge - Ballchon
โดยรหัสสีเบเยอร์ที่สามารถเข้าเครื่องผสมได้จะมีรหัสในรูปแบบ XXX-X และ OW-X-X เช่น 106-6 หรือ OW-5-2 เป็นต้น
สรุปง่าย ๆ สีเบอร์ กับสีเบส ต่างกันอย่างไร
หลัก ๆ แล้วเฉดสีทั้งสามชนิดจะแตกต่างกันที่เฉดสีที่มี รูปแบบรหัสสี และราคาจำหน่าย ซึ่งสามารถจำแนกง่าย ๆ ดังตารางด้านล่าง
สีเบอร์ | สีเบส | สีผสม | |
เฉดสี | มีเฉพาะเฉดสีที่ระบุในแคตตาล็อกสินค้า | สีขาว | มีมากว่า 1,200 เฉดสี |
ตัวอย่างรหัสสี | 1517 , E 2517 , AI 1517 | BASE A , BASE B , BASE C , BASE D | 106-6 , OW-5-1 |
ราคา | ส่วนใหญ่จะราคาเท่ากันทุกเฉดสี ยกเว้นเฉดสีเข้ม และที่เป็นแม่สี | ราคาอาจแตกต่างกันตามรุ่นผลิตภัณฑ์และร้านค้าที่จัดจำหน่าย | ขึ้นอยู่กับราคาสีเบส และแม่สี |
ข้อควรรู้อีกอย่างหนึ่งคือแม้จะเป็นเฉดสีเดียวกัน (ชื่อสีเหมือนกัน) แต่ถ้ารุ่นสินค้าต่างกัน ชนิดฟิล์มต่างกัน เช่น สินค้าเบเยอร์คูล ฟิล์มสีด้าน และ ฟิล์มสีกึ่งเงา เฉดสีที่ทาออกมาอาจจะมีความแตกต่างกันได้ ซึ่งเป็นผลจากแสงและเงา ทั้งนี้แนะนำให้ซื้อสีขนาดทดลองไปทาดูก่อนนะครับ เพื่อให้ได้เฉดสีที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
อย่างไรก็ตามการเลือกสีทาบ้านจริง ๆ แล้วไม่ต้องกังวลหรอกครับว่าจะต้องเลือก สีเบอร์ สีเบส หรือสีผสม เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกสีทาบ้าน ทั้งสีทาภายนอก และสีทาภายใน คือการเลือกสีที่ตัวเองชอบ สีที่เข้ากันได้กับสไตล์บ้าน และเลือกสีมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ช่วยให้คนในบ้านมีความสุข เช่น สีที่กันความร้อนได้ สีที่ทำให้บ้านเย็น สีที่กำจัดไวรัสบนผนังได้ หรือสีที่เช็ดล้างทำความสะอาดง่าย เป็นต้นครับ