สีทากันซึมคืออะไร จำเป็นต้องใช้ไหม แล้วควรเลือกยังไงดี

สีทากันซึม หรือรูฟซีล คือสีที่มีคุณสมบัติในการกันการซึมของน้ำ มักใช้ทาบนพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีโอกาสพบเจอการั่วซึมได้สูง เช่น ดาดฟ้า หลังคา หรือแม้กระทั่ง พื้น ผนัง หรือสระว่ายน้ำ ฯลฯ เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำและความชื้น ที่อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น เชื้อรา ตะไคร่น้ำ ปัญหาสีลอกล่อน ฯลฯ นอกจากนี้สีกันซึมบางตัว ยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเรื่องการสะท้อนความร้อน ช่วยลดความร้อนภายในตัวอาคารได้อีกด้วย

 

ประเภทของสีทากันซึม

โดยทั่วไปเราสามารถจำแนกสีทากันซึมได้ออกเป็น 3 ประเภท ตามชนิดของส่วนประกอบหลักที่ใช้ ได้แก่ สีทากันซึมอะคริลิก สีทากันซึมโพลียูรีเทน สีทากันซึมโพลียูรีเทนไฮบริด

สีทากันซึมอะคริลิก : เป็นสีทากันซึมชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีเบสเป็นอะคริลิก ที่มีจุดเด่นเรื่องคุณสมบัติความยืดหยุ่นสูง ทนสภาวะอากาศได้ดี สามารถป้องกันรอยแตกร้าว และกันน้ำซึมผ่านได้

สีทากันซึมโพลียูรีเทน : ถือว่าเป็นสีกันซึมที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน ด้วยตัวคุณสมบัติของโพลียูรีเทนที่สามารถกันน้ำ ยืดหยุ่น และมีความทนทานที่มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด แต่ทั้งหมดต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่ากันซึมอะคริลิกถึงเกือบ 2 เท่า (เมื่อเทียบในขนาดบรรจุเท่ากัน)

สีทากันซึมโพลียูรีเทนไฮบริด : สีกันซึมประเภทนี้จะเป็นลูกผสมระหว่างอะคริลิกกับโพลียูรีเทนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะรวมจุดเด่นของสีทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน ทำให้ได้คุณสมบัติที่ดีกว่ากันซึมอะคริลิกทั่วไป อย่างไรก็ตามในด้านประสิทธิภาพก็ยังไม่ได้เท่ากันซึมโพลียูรีเทนนะครับ

นอกจากนี้ยังมีกันซึมดาดฟ้าซีเมนต์ และกันซึมยางมะตอย อีกสองประเภทที่ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ เนื่องจากประสิทธิภาพที่ด้อยกว่า และใช้งานยากกว่านั่นเอง

beger roofseal cool pu hybrid

เบเยอร์ รูฟซีล คูล (Beger ROOFSEAL Cool) ที่สุดของกันซึมดาดฟ้าหลังคา สูตรไฮบริดที่ประสานพลังความยืดหยุ่น และทนทานของอะคริลิกแท้และโพลียูรีเทน เข้าด้วยกันอย่างลงตัว มอบประสิทธิภาพการกันน้ำซึมได้อย่างดีเยี่ยม 100% ยืดหยุ่นสูง ทนน้ำขังนาน สะท้อนความร้อนได้จริงสูงกว่า 95% มี มอก.รับรอง จบทุกปัญหา รั่ว ร้อน ร้าว และเชื้อรา

ตารางเปรียบเทียบสีทากันซึมแต่ละประเภท

 

นอกจากสีทากันซึม ยังมีผลิตภัณฑ์กันซึมอีกหลายชนิดที่ช่วยป้องกันน้ำซึมผ่านพื้นผิวได้ นั่นก็คือน้ำยากันซึม หรือที่เรียกว่า น้ำยาเคลือบเงาใสกันซึม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นของเหลวสีใส ทาเสร็จแล้วพื้นผิวจะเงางาม ทำหน้าที่เคลือบทับพื้นผิวทำให้น้ำไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ แต่โดยทั่วไปน้ำยาชนิดนี้มักใช้กับพื้นผิวหินล้าง/หินทราย หินธรรมชาติ กระเบื้องดินเผา บล็อคตัวหนอน คอนกรีตสแตมป์ หรือผนังซีเมนต์ที่ต้องการโชว์ปูนเปลือย เป็นต้น เช่น Beger Water Repellent Gloss A-100 และ Beger A-200 PU Hybrid

รวมไปถึงยังมีสินค้าประเภทซิลิโคนกันซึม ที่มีลักษณะเป็นหลอดใช้สำหรับอุดรอยแตกร้าว หรือรอยต่อเพื่อป้องกันน้ำรั่วครับ

สรุปแล้วต้องทากันซึมไหม หากไม่ใช้จะเกิดอะไรขึ้น

หากตึกหรือบ้านของใครมีดาดฟ้า คุณจำเป็น ต้อง ใช้สีทากันซึมด้วยนะครับ เนื่องจากพื้นปูนปกติจะกันน้ำได้น้อยมาก แล้วยิ่งหน้าฝนที่ฝนตกจนเกิดน้ำขัง ถ้าไม่ทาสีกันซึมน้ำอาจจะซึมผ่านลงมาตามรอยแตกแยกของชั้นปูน อาจซึมลงไปทำให้ฝ้าเพดานเสียหาย หรือหนักสุดคือการเกิดสนิมที่โครงสร้างเหล็กด้านในเนื้อปูน เป็นต้น

 

ปัญหาเมื่อไม่ทาสีกันซึม

สีทากันซึม เลือกอย่างไรดีให้ไม่มีปัญหาตามมา

การเลือกสีทากันซึมมาใช้ไม่ใช่เรื่องยาก ต่อให้เป็นมือใหม่ไม่ใช่ช่างก็สามารถเลือกได้ถูกต้อง หากเริ่มต้นจากปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ 

1.เลือกชนิดสีกันซึม

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น กันซึมดาดฟ้าทั้ง ประเภท อะคริลิก โพลียูรีเทน และไฮบริด ล้วนแต่มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและราคา

  • อยากได้กันซึมที่ทนที่สุดและไม่มีข้อจำกัดด้านงบ แนะนำให้ใช้ สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาชนิดโพลียูรีเทน
  • อยากได้กันซึมที่ทนทานตามมาตรฐานและคุ้มค่า แนะนำให้ใช้ สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาชนิดไฮบริด

 

2. คำนวณปริมาณสีที่ใช้กับพื้นที่ให้เหมาะสม

ไม่ว่าจะทาสีประเภทไหน การคำนวณปริมาณสีที่ใช้ เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องใส่ใจ เพื่อหลีกเลี่ยงซื้อมาน้อยจนไม่พอใช้ หรือซื้อมาเยอะเกินจำเป็นนั่นเอง ซึ่งในที่พื้น 1 ตารางเมตร จะใช้สีทากันซึม 1 กิโลกรัม (ในการทาเป็นรองพื้น 1 เที่ยว และทับหน้า 2 เที่ยว)

ตัวอย่างการคำนวณ : พื้นที่ดาดฟ้าทั้งหมด 50 ตารางเมตร ต้องใช้สีกันซึมเท่าไร

เมื่อเทียบอัตรา 1 ตารางเมตร ต่อ 1 กิโลกรัม จะต้องใช้สีทากันซึม 50 กิโลกรัม

หรือซื้อสีกันซึมขนาดถึง 20 กิโลกรัม 2 ถัง และ 4 กิโลกรัม 3 ถัง (หากไม่มีไซซ์ขนาดลงตัวแนะนำให้ซื้อเผื่อเล็กน้อย)

 

3. เลือกเฉดสี

โดยทั่วไปสีทากันซึมดาดฟ้าจะมีเฉดสีที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ สีเขียว แต่สำหรับสีอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือ สีเทา และสีขาว นั่นเอง ซึ่งเฉดสีจะมีผลกับเรื่องความสวยงามเท่านั้น ไม่มีผลต่อคุณสมบัติ ด้วยเหตุนี้เราสามารถเลือกสีที่ชอบ และสีที่แมตช์กับสไตล์ได้เลย 

เฉดสีทากันซึม

งบประมาณการทาสีกันซึม และราคาทากันซึมต่อตารางเมตร

โดยมากสีกันซึมปริมาณ 1 กิโลกรัม จะทาได้ประมาณ 1 ตารางเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ราคากันซึมต่อตารางเมตร จะอยู่ราว ๆ ตารางเมตรละ 125 - 245 บาท (ไม่รวมค่าแรงทาสี) ขึ้นอยู่กับรุ่น ประเภท ของกันซึมแต่ละยี่ห้อครับ

 

ราคาทากันซึม

วิธีการทาสีกันซึมดาดฟ้าหลังคา

1. สำรวจพื้นที่ ๆ ต้องการทาสีกันซึม หากพื้นผิวดาดฟ้าหรือหลังคามีปัญหาจะต้องแก้ไขก่อน

  • หากพื้นรอยแตกร้าวควรซ่อมแซมด้วยอะคริลิกอุดโป๊ว
  • หากพื้นผิวมีเชื้อราตะไคร่น้ำ จะต้องขัดออกให้มากที่สุดก่อน จากนั้นให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราตะไคร่น้ำ Beger Mould Free M-001 ทาให้ชุ่มทิ้งไว้ให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออก

2. ทารองพื้น

สำหรับการทาสีรองพื้นของกันซึมสามารถเลือกใช้ได้ 2 แบบ ได้แก่ 1. ใช้รองพื้นอเนกประสงค์ B-1900 ทาที่พื้นผิว หรือ 2.ใช้สีทากันซึมเบเยอร์ รูฟซีลคูล ผสมน้ำในอัตราส่วน 3 : 1 (สี 3 น้ำ 1)  จำนวน 1 เที่ยว แล้วทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

3. ทาสีกันซึมดาดฟ้า 2 เที่ยว

นำสีทาดาดฟ้า เบเยอร์ รูฟซีล คูล พียู ไฮบริด ทาจำนวน 2 เที่ยว (ไม่ต้องผสมน้ำ) โดยเว้นระยะเวลาแห้งต่อเที่ยว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งในระหว่างการทาเที่ยวที่สอง แนะนำให้ใช้แผ่นไฟเบอร์ Beger Fiber Mesh มาปูทับแล้วทาไปพร้อมกัน เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการยึดเกาะให้ดีที่สุด

 ทั้งนี้หากเพื่อน ๆ อยากดูวิธีการใช้งานจริงแบบละเอียด สามารถดูเพิ่มเติมจากวิดีโอด้านล่างได้เลยครับ 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทาสีกันซึม

คำถาม : สามารถเอาสีทากันซึมดาดฟ้าหลังคามาทาผนังได้หรือไม่?
คำตอบ : สามารถเอามาทาได้ครับ แต่มักจะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ เนื่องจากเมื่อเทียบราคาต่อตารางเมตรแล้วจะราคาค่อนข้างสูง แนะนำให้ทาด้วยสีรองพื้นทนชื้นสูง และทาด้วยสีทับหน้าตามระบบจะดีกว่าครับ 

คำถาม : เอาสีอื่นมาทาทับ สีทากันซึม ได้หรือไม่
คำตอบ : กรณีที่เราทากันซึมบนผนัง สามารถนำสีทาบ้านชนิดอะคริลิกมาทาทับได้เลยครับ แต่ถ้าคุณทากันซึมที่พื้นแนะนำให้ใช้สีทาบ้านที่ทนการเหยียบย่ำได้มาทาแทน เช่น Beger Synotex Roofpaint

คำถาม : สีทากันซึมแตกต่างจากสีทาบ้านทั่วไปอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม
คำตอบ : ความแตกต่างระหว่างสีกันซึมและสีทาบ้าน คือคุณสมบัติการกันน้ำผ่าน ความยืดหยุ่น และการทนเหยียบย่ำ กล่าวคือสีทาบ้านจะไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้ จึงทำให้เราไม่สามารถนำสีทาบ้านไปทาแทนสีกันซึมได้นั่นเอง แต่ในทางกลับกันเราสามารถนำสีทากันซึมไปทาบ้านได้

คำถาม : เอาสีทากันซึมไปทาบ่อปลาได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ควรนำสีทากันซึมดาดฟ้าหลังคาไปทาบ่อปลาภายใน เนื่องจากสีทากันซึมจะสามารถแช่น้ำได้นานสูงสุดเพียงแค่ 60 วัน เท่านั้น แต่คุณสามารถใช้สีอุตสาหกรรมชนิดโพลียูรีเทนที่มีความทนทานสูงมาใช้ทาได้ โดยขอแนะนำ Beger Unithane B-4000

คำถาม : เอาสีทากันซึมไปทาสระว่ายน้ำได้หรือไม่
คำตอบ : ในทำนองเดียวกันกับการทาสีบ่อปลา สีทากันซึมจะสามารถแช่น้ำได้นานสูงสุดเพียงแค่ 60 วัน เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เหมาะในการทากันซึมสระว่ายน้ำแต่ คุณสามารถใช้ Unithane B-4000 มาทาได้ครับ

SHARE :
กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง