TH | EN

เช็ก 4 รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหว ซ่อมได้ไหม แบบไหนอันตราย

ความเสียหายเป็นของคู่กันกับแผ่นดินไหว ยิ่งแผ่นดินไหวรุนแรงก็ยิ่งสร้างความเสียหายได้มากขึ้น หนึ่งในสัญญาณความเสียหายนั้นคือ รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหว ที่ปรากฏขึ้นตามผนังหรือโครงสร้างตึก อาคาร และบ้านเรือนของเรา รอยแตกร้าวนั้นอันตรายหรือไม่ แล้วซ่อมได้ไหม เราหาคำตอบมาให้แล้ว

 

รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหว สัญญาณอาคารไม่แข็งแรงจริงหรือ?  

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมตึกสร้างใหม่แท้ ๆ กลับมีรอยร้าวเกิดขึ้นได้ ผิดกับตึกเก่าหรือตึกที่สร้างมานานแล้วกลับไม่มีรอยแตกร้าวให้เห็น นี่หมายความว่า ตึกสร้างใหม่ไม่แข็งแรง สร้างมาไม่ได้มาตรฐานหรือไม่?

ก่อนอื่นเราต้องพูดถึง มาตรฐานการออกแบบอาคารสมัยใหม่ กันสักนิด ด้วยการบังคับใช้มาตรฐานนี้ทำให้ตึกที่สร้างตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 เป็นต้นมา จะมีความเหนียว แทนความแข็งแกร่งอย่างที่ตึกเก่าเป็น ความแตกต่างของความเหนียวและความแข็งแกร่ง คือ

ตึกเก่า (ความแข็ง)

รับแรงแผ่นดินไหวได้น้อยกว่า ความแข็งแกร่งจะมาพร้อมกับความเปราะ เมื่อตัวตึกสะสมแรงแผ่นดินไหวไว้ภายในจนเกินขีดจำกัดจะส่งผลให้ตึกพังลงในทันทีโดยปราศจากสัญญาณเตือน

ตึกใหม่ (ความเหนียว)

ดูดซับแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่า ตัวตึกสามารถโยก แอ่น และโก่งตัวได้ โดยจะสลายแรงแผ่นดินไหวไปเป็นแรงโยก รอยแตกร้าวเกิดขึ้นตามมาได้ โดยถือเป็นสัญญาณเตือนก่อนพังลง

จะเห็นได้ว่า รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหวไม่ได้แสดงถึงความแข็งแรงมากน้อยของตัวตึก แต่เป็นสัญญาณของความเสียหาย และแจ้งเตือนให้ผู้คนรีบอพยพออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง 

ในกรณีที่เป็นตึกใหม่แต่ไม่มีรอยแตกร้าว อาจพิจารณาได้ว่า 1) ตัวตึกแข็งแรงมาก จนแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวไม่อาจสร้างความเสียหายได้ หรือ 2) การออกแบบตึกไม่ได้มาตรฐานความเหนียว ก็เป็นไปได้เช่นกัน 

เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อทำการตรวจสอบก่อนเข้าใช้ตึกอาคาร โดยเฉพาะรอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหวที่เกิดบริเวณเสาหรือคาน

 

รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหว อันตรายไหม

รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหวใช่ว่าจะอันตรายในทุกกรณี เพราะหากรอยแตกร้าว รวมถึงปัญหาฝ้าร่วง กระเบื้องหลุดล่อน ไม่เกิดขึ้นบริเวณโครงสร้าง ก็ถือว่าไม่อันตราย ไม่ผิดปกติ เนื่องจากวัสดุก่อสร้างเหล่านี้มักถูกออกแบบมาให้เคลื่อนไหวได้เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนอยู่แล้ว 

แต่ในกรณีที่รอยแตกร้าวเกิดบริเวณโครงสร้าง โดยเฉพาะรอยแตกชัดเจนหรือขนาดใหญ่จนเห็นเหล็กเสริมภายใน จำเป็นต้องให้วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประเมินความเสียหายก่อนการซ่อมแซม

เบื้องต้น กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณาความเสียหายขั้นต้นต่อตัวตึกอาคาร โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับสี ได้แก่
 

ระดับสี   ระดับความรุนแรง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น คำแนะนำการใช้ตึกอาคาร
สีเขียว (Green)

 ระดับที่ไม่เป็นอันตราย ไม่เสียหาย หรือเสียหายเล็กน้อย

  • รอยแตกร้าวขนาดเล็กที่ผิวโครงสร้าง 
  • โครงสร้างรองอาจได้รับความเสียหาย เช่น อิฐก่อ ฝ้าเพดาน หรือ ปูนฉาบ

ใช้งานอาคารได้ตามปกติ

สีเหลือง (Yellow)

 ระดับปานกลาง ควรซ่อมแซม และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้าใช้อาคาร

  • รอยแตกร้าวชัดเจน อาจมีเนื้อคอนกรีตฉีกขาด แตกหัก จนเห็นถึงบริเวณเหล็กเสริมจุดเล็ก ๆ
  • เสา คาน กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กได้รับความเสียหาย

ใช้งานอาคารได้แบบมีเงื่อนไข

(ใช้งานอาคารได้บางส่วนหรือทั้งหมด ควรระมัดระวังเศษวัสดุร่วงหล่น และอาคารควรได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง)

สีแดง (Red)

 ระดับอันตราย จำเป็นต้องตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้าใช้อาคาร

  • รอยฉีกขาดรุนแรง เนื้อคอนกรีตแตกร้าวจนเห็นเหล็กเสริมแอ่น โก่ง หรือโค้งงอชัดเจน
  • โครงสร้างหลักได้รับความเสียหาย

ห้ามใช้งานอาคาร

(อาคารเสียหายอย่างหนัก อาจเสี่ยงต่อการพังถล่ม หรือสภาพอาคารอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต)

 

ระดับความเสียหายต่อตัวอาคารคอนกรีต

 

4 รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหว ซ่อมได้หรือไม่

รอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหวแบ่งออกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดและขนาดของรอยร้าว การรู้ว่าเป็นรอยแตกประเภทใดช่วยให้ได้รับการซ่อมแซมที่ตรงจุดมากขึ้น เพิ่มความปลอดภัยให้กับตึกอาคารหลังแผ่นดินไหวได้ดี ดังนี้

 

รอยแตกร้าวแผ่นดินไหว ซ่อม

 

1. รอยแตกร้าวลายงา (Hairline cracks)
รอยแตกเส้นบางเล็กกว่า 1 มิลลิเมตร บนผิวปูนฉาบ โดยทั่วไปไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่ควรซ่อมแซมด้วยการฉาบปิดทับหรือทาสีใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต

รอยแตกประเภทนี้ไม่น่ากังวลและซ่อมเองได้ด้วยผลิตภัณฑ์ดังนี้ :

2. รอยแตกร้าวแนวปูนฉาบ (Plaster cracks)
รอยแตกลึกกว่ารอยแตกลายงาเล็กน้อย ราว 3-10 มิลลิเมตร อยู่เฉพาะชั้นปูนฉาบ เกิดจากการสั่นสะเทือนอาจทำให้โครงสร้างเคลื่อนตัว ควรซ่อมแซมและสังเกตเพื่อเฝ้าระวังต่อไป

รอยแตกประเภทนี้ไม่น่ากังวลและซ่อมเองได้ด้วยผลิตภัณฑ์ดังนี้ :

  • วัสดุอุดโป๊ว Beger PU Seal / Beger Acrylic Sealant F-001
  • วัสดุฉาบตกแต่ง Beger 110 SKIM COAT Smooth / Beger Skim Coat 102 (พร้อมใช้)
  • ระบบสีรองพื้นและทับหน้า Beger

3. รอยแตกร้าวแนวเฉียงบนผนัง (Diagonal cracks)
รอยแตกแนวเฉียงมุม 30-45 องศาทั้งแนวตั้งและแนวนอน ความกว้างประมาณ 3-10 มิลลิเมตร บริเวณผนัง วงกบ มุมประตูหรือหน้าต่าง เกิดจากแรงเฉือนที่กระทำต่อโครงสร้าง ควรรีบตรวจสอบและแก้ไข เนื่องจากอันตรายปานกลางและโครงสร้างอาจมีปัญหา

รอยแตกประเภทนี้ควรเฝ้าระวัง บางกรณีอาจซ่อมเองได้ บางกรณีควรซ่อมโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยผลิตภัณฑ์ดังนี้ :

  • วัสดุอุดโป๊ว Beger PU Seal / Beger Acrylic Sealant F-001
  • วัสดุฉาบตกแต่ง Beger 110 SKIM COAT Smooth / Beger Skim Coat 102 (พร้อมใช้)
  • ระบบสีรองพื้นและทับหน้า Beger

*กรณีร่องลึกเกิน 5-10 มิลลิเมตร แนะนำให้ใช้โฟมเส้น (Backing Rod) เสริมในชั้นแรก

4. รอยร้าวลึกถึงโครงสร้าง (Structural cracks)
รอยแตกกว้างเกิน 10 มิลลิเมตร ลึกจนเห็นเหล็กเสริม หรือแตกตลอดความหนาของผนัง เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก ส่งผลต่อความมั่นคงแข็งแรง เนื่องจากมีความอันตรายระดับสูง ต้องเร่งออกจากพื้นที่ และดำเนินการตรวจสอบ แก้ไขโดยด่วนด้วยวิศวกรโครงสร้าง เพื่อความปลอดภัย 

รอยแตกประเภทนี้ไม่สามารถซ่อมเองได้ในทุกกรณี ผลิตภัณฑ์แก้ปัญหานี้ก็เช่น 

  • วัสดุซีเมนต์ซ่อม Beger Repair Mortar
  • วัสดุฉาบตกแต่ง Beger 110 SKIM COAT Smooth / Beger Skim Coat 102 (พร้อมใช้)
  • ระบบสีรองพื้นและทับหน้า Beger

 

ปกป้อง รอยแตกร้าวแผ่นดินไหว

 

นอกเหนือจากรอยแตกร้าวหลังแผ่นดินไหว แนะนำให้ตรวจสอบฝ้าเพดานและกระเบื้องอย่างละเอียดร่วมด้วย เพราะแม้สภาพภายนอกของตัววัสดุอาจดูปกติ แต่แท้จริงแล้วการมีการขยับตัว หลุดล่อน หรือพังเสียหายแล้วเพียงแต่อยู่ในจุดที่มองไม่เห็น ผู้ใช้อาคารจึงอาจเสี่ยงได้รับบาดเจ็บได้

หากตรวจพบ รอยร้าวแบบที่ 3 หรือ 4 รวมถึงรอยแตกที่เสาหรือคาน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และเร่งการอพยพ เพื่อความปลอดภัยของท่านเอง โดยอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากเบเยอร์ที่ Line: @BegerPaint หรือช่องทางการช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐบาล เช่น Traffy Fondue (Line: @traffyfondue) หรือสายด่วนกรมโยธาธิการและผังเมืองที่เบอร์ 1531 

 

References:

SHARE :
    กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง