รู้จักการก่อสร้างแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามหลักอาคารเขียว

ก่อสร้างรักษ์โลก

การก่อสร้างอาคารหรือตึกใด ๆ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างผลกระทบต่อโลกอย่างมาก ไม่ว่าจะการใช้วัสดุที่ส่งผลเสียต่อธรรมชาติ การปล่อยมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดออกไซด์ขณะก่อสร้าง ไปจนถึงการสร้างขยะจำนวนมากหลังการก่อสร้าง การก่อสร้างแบบรักษ์โลกจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อชะลอหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว มาศึกษาไปพร้อมกันในบทความนี้เลย

จากกิจกรรมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งหมดทั่วโลก ราว 37% มาจากภาคอาคารและการก่อสร้าง หากแยกลึกลงไปกว่านั้นเราจะพบว่า คาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง คอนกรีต เหล็ก อิฐ กระจก รวมถึงผลิตภัณฑ์ตกแต่งอาคารมีมากถึง 11% สอดคล้องกับภาพรวมของโลกที่เรามองเห็นคือ เมืองกำลังขยายตัวและเติบโตไปพร้อมกับความแปรปรวนของโลกที่มากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างหันมารับผิดชอบและปรับตัวภายใต้แนวคิดของการก่อสร้างที่ยั่งยืนนั่นเอง 

 

การก่อสร้างแบบรักษ์โลกคืออะไร

อย่างที่บอกว่า รักษ์โลก ก็ต้องเป็นการก่อสร้างอย่างยั่งยืนที่ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา โดยอาจนำเทคโนโลยี นวัตกรรม วัสดุ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้เสริมการก่อสร้างทั้งก่อนและหลังให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยาวนานยิ่งขึ้น แต่สร้างผลเสียต่อโลกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น

  • เลือกวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ปล่อยคาร์บอนต่ำ ช่วยประหยัดพลังงาน และมีความทนทานสูง หรือวัสดุก่อสร้างที่มาจากการรีไซเคิล ช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง
  • ซ่อมแซมดีกว่ารื้อถอน (Adaptive Reuse) เพราะการก่อสร้างใหม่จะเพิ่มปริมาณการปล่อย CO2 จากกระบวนการตั้งแต่ต้นยันจบ ขณะที่การซ่อมแซมจะปล่อย CO2 ออกมาต่ำกว่า
  • ก่อสร้างอาคารสีเขียว (Green Building) ตามเกณฑ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่กำหนด
  • จำกัดวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เพื่อควบคุมปริมาณของเสีย หรือใช้สีอเนกประสงค์หรือสี 2in1 ลดปริมาณการใช้น้ำและขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง
  • การจัดการสถานที่ก่อสร้าง เช่น การบำบัดน้ำในสถานที่ ห้ามสูบบุหรี่ การแยกขยะ บรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุอาหาร และรีไซเคิลหลังใช้งาน

5R Green Building

 

ไม่ใช่แค่ตัวอาคาร แต่เปลือกอาคารก็สำคัญ

เมื่อพูดถึงการสร้างอาคาร หลายคนอาจมองเพียงภาพภายในตัวอาคาร แต่ความจริงเปลือกอาคารหรือกรอบอาคาร (Facade) อย่าง ระเบียง หน้าต่าง กันสาด ชายคา ลายปูน บัวประดับผนัง เสาพอก ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกเหนือจากการเพิ่มความสวยงามและความน่าดึงดูดให้อาคาร ปกป้องอาคารจากสภาพแวดล้อมภายนอก ยังมีส่วนช่วยอย่างมากในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยสามารถออกแบบทิศทางลม ความชื้น อากาศ และแสงแดดที่สาดกระทบเข้ามาในอาคารได้ จึงเอื้อต่อการลดใช้พลังงานและลดความร้อนได้เป็นอย่างดี

โดยการพัฒนาอาคารเขียว (Green Building) ของไทยภายใต้เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทย (TREES) ซึ่งการันตีความเป็นอาคารประหยัดพลังงานและรักษ์โลกตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle) ของตัวอาคาร ก็ให้ความสำคัญกับประเด็นความร้อนในอาคารด้วยเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเขตร้อนที่ได้รับผลกระทบทวีคูณในช่วงฤดูที่มีอากาศร้อนจัด

ซึ่งความร้อนที่สะสมภายในอาคารนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การแผ่ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การนำความร้อนจากหลังคา ผนังอาคาร อากาศภายนอก อุปกรณ์ในอาคาร ความร้อนจากผู้ใช้อาคาร รวมถึงการนำความร้อนจากพื้นอาคาร 

โดยการประเมินอาคารตามเกณฑ์ TREES จะประกอบด้วยหลายหมวดด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ หมวดพลังงาน ซึ่งพิจารณาเกี่ยวกับการถ่ายเทความร้อนในอาคารที่เรียกว่า RTTV และ OTTV โดยคิดคำนวณในหน่วยวัตต์ต่อตารางเมตร (W/m2)

RTTV และ ฯธธฮ

1) ค่า RTTV (Roof Thermal Transfer Value)

หรือค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาในส่วนที่มีการปรับอากาศในอาคารแต่ละประเภท โดยแสดงปริมาณความร้อนเฉลี่ยที่ผ่านหลังคาเข้าสู่ตัวอาคาร ซึ่งจะช่วยเสริมการประหยัดพลังงานจากการออกแบบและเลือกใช้วัสดุเปลือกอาคารที่กันความร้อนสูง โดยเน้นวัสดุหลังคาและการออกแบบหลังคาที่มีฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดาน

ตามข้อกำหนดของ TREES จะมีเกณฑ์ฉบับใหม่ 2562 สำหรับค่า RTTV อยู่ 3 ระดับ ดังนี้

  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 6 W/m2 จะได้ระดับ Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 5 W/m2 จะได้ระดับ Very Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 4 W/m2 จะได้ระดับ Excellent

2) ค่า OTTV (Overall Thermal Transfer Value)

หรือค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนังด้านนอกอาคารในส่วนที่มีการปรับอากาศในอาคารแต่ละประเภท โดยแสดงปริมาณความร้อนเฉลี่ยที่ผ่านผนังทึบและผนังโปร่งแสงทุกทิศ ถือเป็นเกณฑ์รับรองที่ช่วยเสริมการประหยัดพลังงานเช่นเดียวกันกับค่า RTTV แต่จะเน้นการออกแบบผนังและหน้าต่าง การเลือกใช้สี และการกันแดดให้กับผนังและหน้าต่างภายนอก

ตามข้อกำหนดของ TREES จะมีเกณฑ์สำหรับค่า OTTV อยู่ 3 ระดับ ดังนี้

  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 30 W/m2 จะได้ระดับ Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 25 W/m2 จะได้ระดับ Very Good
  • ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 20 W/m2 จะได้ระดับ Excellent

RTTV และ OTTV สำหรับบ้านและทาวเฮ้าส์

สำหรับบ้านและทาวเฮ้าส์สามารถคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนกรอบอาคารทั้ง 4 ทิศ ตามงานวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) โดยจะมีเกณฑ์ดังนี้

ค่า RTTV ของบ้านและทาวเฮ้าส์

  • ห้องนอนที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 15 W/m2 จะได้ระดับ Good, 5-10 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 5 W/m2 จะได้ระดับ Excellent 
  • ห้องนั่งเล่นและห้องทำงานที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 12 W/m2 จะได้ระดับ Good, 4-8 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 4 W/m2 จะได้ระดับ Excellent

ค่า OVTT ของบ้านและทาวเฮ้าส์

  • ห้องนอนที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 20 W/m2 จะได้ระดับ Good, 10-15 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 10 W/m2 จะได้ระดับ Excellent 
  • ห้องนั่งเล่นและห้องทำงานที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 25 W/m2 จะได้ระดับ Good, 15-20 W/m2 จะได้ระดับ Very Good และต่ำกว่า 15 W/m2 จะได้ระดับ Excellent 

แปลนบ้าน อาคารเขียว

ทั้งนี้ มาตรฐาน TREES ยังคิดคะแนนจากหมวดหมู่อื่น ๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะ ผังพื้นที่ ภูมิทัศน์ วัสดุก่อสร้าง หรือสภาพแวดล้อมในอาคาร แต่การพิจารณาด้านพลังงานหรือความร้อนด้วยก็ถือเป็นการให้ความสำคัญเทียบเท่าประเด็นหลักอื่น ๆ เนื่องจากความร้อนที่เข้ามาสู่ตัวบ้านจากหลังคาหรือผนังล้วนส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานที่มากตาม การได้มาซึ่งพลังงานนั้นก็มาพร้อมกับปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในปัจจุบันนั่นเอง  

การเลือกวัสดุเปลือกผิวอาคารจึงจำเป็นต้องพิจาณาให้ดี ยกตัวอย่างเช่นการเลือกสีทาบ้านที่เหมาะสมก็จะช่วยสกัดกั้นความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ประหยัดพลังงานได้ดี และเพื่อการรักษ์โลกอย่างแท้จริง แนะนำให้เลือกใช้สีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างสีเบเยอร์ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจัดการถังสีอย่างยั่งยืน การันตีโดยมาตรฐานและฉลากด้านสิ่งแวดล้อม เช่น LEED, WELL, ฉลากลดโลกร้อน หรือฉลากเขียว ผู้บริโภคจึงแน่ใจได้เลยว่าสีเบเยอร์จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและมีส่วนผลักดันการก่อสร้างแบบรักษ์โลก เพื่อให้เป้าหมาย Net Zero เป็นจริงในอนาคต

SHARE :
กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง