บทบาท และความสำคัญของแนวคิด ESG ในปัจจุบัน

ESG

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคแห่งความโกลาหลทางธรรมชาติจากเงื้อมมือมนุษย์ อย่างภาวะโลกเดือดหรือปรากฏการณ์ลานีญา หลากหลายธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนมากขึ้น ไม่เฉพาะเพียงผลกำไรอย่างแล้วมา ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า ESG (Environmental, Social, and Governance) แนวคิดนี้มีความสำคัญอย่างไร แล้วภาคธุรกิจอย่างเบเยอร์ปรับบทบาทของตัวเองเพื่อโลกใบนี้แบบไหน มาศึกษาไปพร้อมกันในบทความนี้

 

แนวคิด ESG คืออะไร?

ESG หรือแนวคิดการพัฒนาองค์กรและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนใน 3 แกนหลัก ได้แก่ แกนสิ่งแวดล้อม (Environmental) แกนสังคม (Social) และแกนธรรมาภิบาล (Governance) เป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจยึดถือและให้ความสำคัญกันมากในปัจจุบัน เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณธรรม แก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร นำมาซึ่งทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ดีในทุกมิติ รวมถึงเพิ่มโอกาสผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว นั่นก็คือ “ธุรกิจได้ประโยชน์ สังคมและโลกไม่ถูกทำร้าย”  

ESG

 

แนวคิด ESG สำคัญอย่างไร?

การปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวคิด ESG เป็นบทบาทหน้าที่ของภาคธุรกิจที่จะสะท้อนถึงคุณธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความใส่ใจของบริษัทที่มีต่อทุกฟันเฟืองการดำเนินงาน แสดงให้เห็นภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือ และโดดเด่น ถือเป็นหนึงปัจจัยที่ดึงดูดนักลงทุน หุ้นส่วน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในเกิดการพิจารณาและตัดสินใจลงทุนในอนาคตด้วย  

 

บทบาทของภาคธุรกิจกับแนวคิด ESG

เบเยอร์ในบทบาทผู้ผลิตสีประเทศไทยร่วมผลักดันสินค้าและกระบวนการผลิตที่ยึดตามหลักการ ESG พร้อมกับดูแลโลกและใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาตลอดกว่า 60 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดจากการคิดค้นและพัฒนาสีสะท้อนร้อน ประหยัดค่าไฟ และล่าสุดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนได้รับฉลากลดดลกร้อนอย่าง สีเบเยอร์คูล ซึ่งมีส่วนช่วยยกระดับมาตรฐานสีทาอาคารในไทยในชื่อ มาตรฐานสีลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ และมาตรฐานฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ตอบโจทย์ความต้องการคนผู้คนที่เผชิญความร้อนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ร่วมกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน 

 

1. E (Environmental) 

ยึดแนวคิด Sustainability ในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เริ่มจากการเลือกสรรและใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติหรือ Bio-based อย่างคุ้มค่า สู่กระบวนการผลิตสีด้วยระบบปิด AVID (Advance Vacuum Inline Dispersion) ที่ไร้ของเสีย โดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดในการผลิต จัดเก็บสินค้าด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคด้วยเส้นทางที่ใช้น้ำมันน้อย รวมถึงกาารรับคืนถังสีใช้แล้ว ซึ่งทุกกระบวนการจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้านทั้งตอนนี้และในระยะยาว เช่น การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ มลพิษทางอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ESG สิ่งแวดล้อม

 

2. S (Social) 

แนวคิด ESG ในแกนสังคมเป็นเรื่องของเบเยอร์และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่สัญญา หรือคนในชุมชน ผ่านแนวคิดที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้เกิดความยุติธรรม เท่าเทียม ปลอดภัย และส่งเสริมกันและกันมากที่สุด เช่น

  • ความเป็นอยู่และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน
  • สิทธิ เสรีภาพ ค่าแรงที่เป็นธรรม 
  • ความปลอดภัยของคนในชุมชน
  • การฝึกอบรบเพิ่มประสบการณ์การทำงาน
  • การป้องกันและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  • การเข้าใจและยอมรับในความหลากหลาย
  • ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์
  • กิจกรรมหรือการพัฒนาเพื่อชุมชนและสังคม

ESG สังคม

 

3. G (Governance)   

สำหรับธรรมาภิบาลหรือบรรษัทภิบาลเป็นหลักการบริหารจัดการและกำกับดูแลองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพที่เบเยอร์ผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ยุติธรรม เป็นไปด้วยความถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อทุกคนในองค์กร ไม่แสวงหาเพียงแค่กำไร โดยทุกการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน การออกนโยบาย การวางแผนใด ๆ การจ่ายผลตอบแทน การจัดการภาษี ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กร กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือโครงสร้างผู้บริหาร สามารถประเมินและตรวจสอบได้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นจากคนภายในและนอกองค์กร

ESG ธรรมาภิบาล

 

ESG ในภาคธุรกิจนั้นอิงกับความยั่งยืนเป็นสำคัญ เนื่องจากการมุ่งมั่น พัฒนา และสร้างสรรค์สินค้าโดยคำนึงและใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ผสมผสานกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีแก้ไขปัญหา จะนำไปสู่ Living Solution ที่จะทำให้การใช้ชีวิตในบ้านเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุดและจะน้อยลงเรื่อย ๆ 

 

Net Zero

 

ซึ่งเบเยอร์ภายใต้แนวคิด ESG ลงมือทำให้เห็นแล้วผ่านสินค้านวัตกรรมอย่าง สีเบเยอร์คูล สีบ้านเย็นช่วยลดความร้อน ประหยัดไฟ พร้อมลดคาร์บอน และจะยังทำต่อไปเพื่อเป็นองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ในอนาคต

SHARE :
กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง