ย้อน 3 ยุคสมัยแห่งนวัตกรรมเบเยอร์คูล สีทาบ้านที่รักษ์โลกกว่าใคร

3GEN Beger

กว่าจะมาเป็นสีเบเยอร์คูลอย่างทุกวันนี้ หลายคนอาจไม่ทราบว่า เบเยอร์ล้มลุกคลุกคลาน ลองผิดลองถูกมาขนาดไหน เพื่อสร้างสรรค์ คิดค้น และพัฒนาสีเบเยอร์ให้ตอบโจทย์ทั้งคุณภาพของสินค้า ความต้องการของเจ้าของบ้าน และความรักษ์โลกไปพร้อมกัน 

วันนี้เบเยอร์อยากชวนมาย้อนรอยความสำเร็จของเราใน 3 ยุคที่ผ่านมา ซึ่งความสำเร็จเหล่านั้นได้แทรกซึมกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านหลังน้อยใหญ่ที่ทุกคนรัก  

 

ยุคสีบ้านเย็น (Cool era: 2007-2016) 

เบเยอร์เริ่มต้นด้วยนิยามสีสะท้อนความร้อนอย่างเบเยอร์คูล ยูวี ชิลด์ (BegerCool UV Shield) โดยเป็นบริษัทสีบุกเบิกร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมผลักดันและร่าง มอก. สีอิมัลชันสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือ มอก. 2514-2553 เป็นครั้งแรกในไทย จนมีใช้กันหลายบริษัทสีจนถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันคือ มอก. 2514-2564) เนื่องด้วยเจตนารมณ์ที่อยากให้คนไทยได้ใช้สีทาบ้านที่มีคุณภาพ 

ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น ซึ่งเป็นยุคที่ได้รับผลกระทบจากเกาะความร้อนในเมือง (Urban Heat Island) ก่อให้เกิดการสะสมความร้อนที่ชั้นบรรยากาศจนเหมือนอยู่ในโดม โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ที่มีการกระจุกตัวของคนและสิ่งก่อสร้างหนาแน่น 

ปรากฏการณ์นี้ทำให้ความร้อนที่ควรจะทะลุออกชั้นบรรยากาศ กลับสะสมอยู่ในอาคารก่อสร้าง เมื่อตกกลางคืนก็จะถูกคายออกมา อุณหภูมิในอาคารบ้านเรือนจึงสูงขึ้น ผู้อยู่อาศัยรู้สึกร้อนและหันพึ่งพาเครื่องปรับอากาศมากกว่าเดิม นำมาซึ่งค่าไฟฟ้าที่สูงตามนั่นเอง  

 

Cool Era

 

ยุคสีประหยัดพลังงาน (Energy saving era: 2017-2022)

หลังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เกิดมอก.ใหม่ขึ้นมา เบเยอร์เล็งเห็นความสำคัญของการประหยัดพลังงาน ไม่เพียงแค่นิยามสีสะท้อนร้อน ลดโลกร้อน แต่จะทำอย่างไรให้เป็นที่ประจักษ์หรือจับต้องได้ถึงความเป็นสีประหยัดพลังงานซึ่งเป็นหัวใจหลักของยุคที่สองนี้ด้วย

โดยหนึ่งในบทพิสูจน์คงหนีไม่พ้น ฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นผลจากทดสอบวิจัยสีประหยัดพลังงานจากทั้งหน่วยงานภายใน สถานศึกษา และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ รวมทั้งหาแนวทางร่วมกับกระทรวงพลังงาน ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานในวงการสีเท่าเทียมกับสินค้าประหยัดพลังงานเบอร์ 5 ประเภทอื่น ๆ โดยฉลากประหยัดพลังงานจะระบุค่าการสะท้อนความร้อน ยิ่งค่าสูง ความสามารถในการสะท้อนก็มากตาม

สีเบเยอร์คูลแต่ละเฉดสีจะช่วยลดใช้พลังงานได้มากน้อยต่างกัน โดยเฉดสีขาวจะช่วยสะท้อนความร้อนได้มากกว่าเฉดสีเข้ม ทว่าเฉดสีเข้มของเบเยอร์ก็ยังสะท้อนความร้อนได้มากกว่าเฉดสีเข้มของสีทาบ้านอื่น ๆ จึงเป็นที่มาของวลี “สีเข้มก็คูลได้” 

 

Energy saving Era

 

ยุคสีคาร์บอนต่ำ (Carbon reductive era: 2023 onwards)

เข้าสู่ยุคปัจจุบันที่ภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องของภาครัฐ แต่เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ด้วยมือเราทุกคน ในวันที่โลกมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป เบเยอร์ตระหนักและร่วมตั้งเป้าหมายสู่สังคม Net Zero และ Zero Waste ในอนาคต ก้าวนำสู่การพัฒนาใหม่ที่ดียิ่งกว่ากับนิยาม “สีคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Paint)” ที่ไม่เพียงปกป้องบ้าน แต่ยังปกป้องโลกด้วย 

ด้วยกระบวนการผลิตเบเยอร์คูลที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตั้งแต่ขั้นตอนการเฟ้นหาแหล่งวัตถุดิบคาร์บอนต่ำ การใช้เทคโนโลยีผลิตสีปลอดของเสีย การใช้พลังงานสะอาดทดแทน การขนส่งสีตามเส้นทางประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการจัดการถังสีหลังใช้

ยืนยันความเป็นสีคาร์บอนต่ำที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และพลังงานจากทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะฉลากสำคัญอย่างฉลากลดโลกร้อน (CFR) รายแรกในวงการสี ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO) ฉลากเขียว ฉลากอาคารเขียว หรือฉลาก LEED/ WELL

และล่าสุดยังสีเบเยอร์คูลได้รับรางวัลเกียรติยศ ชนะเลิศ เวทีนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2567 จากนวัตกรรมสีสะท้อนความร้อนและรังสียูวีเพื่อประหยัดพลังงานภายในอาคาร เนื่องในโอกาสพิเศษครบรอบ 20 ปี ให้กับองค์กรที่เคยได้รับรางวัลมาก่อน และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมจนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

Carbon reductive Era

 

แน่นอนว่า เบเยอร์ไม่หยุดเพียงแค่ 3 ยุคแต่มุ่งมั่นพัฒนาสู่ยุคสมัยใหม่เรื่อยไป โดยตั้งมั่นสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสีที่รักษ์บ้าน รักคุณ และรักโลกใบนี้ไปพร้อมกัน รอพบกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคตได้เลย!

SHARE :
Please select the search topic and type related keywords