สังคมไทยตื่นตัวเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเพราะเราเริ่มตระหนักรู้กันแล้วว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างภาวะโลกร้อนอยู่ใกล้ตัวมาก และส่งผลกระทบต่อทุกมิติการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนจึงหันมาใช้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมากขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะวัสดุรีไซเคิลที่ถูกเรียกว่าผลิตภัณฑ์รักษ์โลก แต่ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสีเบเยอร์ก็รักษ์โลกไม่แพ้กัน ซึ่ง 5 สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกนี่เองจะช่วยให้การรักษ์โลกเป็นเรื่องง่ายขึ้น!
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากมายที่พัฒนาโดยคำนึงถึงความรักษ์โลก พลังงาน และทรัพยากร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดการทำร้ายโลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้นเหตุโลกร้อน และร่วมเปลี่ยนแปลงให้โลกกลับสู่สมดุล ที่เห็นเป็นประจำก็จะเป็นวัสดุรีไซเคิลต่าง ๆ เช่น ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ถุง กำไล โต๊ะ เก้าอี้ และอีกหนึ่งกลุ่มก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างใหม่แต่ใส่ใจกระบวนการผลิตจนลดการปล่อยคาร์บอน ลดใช้ทรัพยากร ลดใช้พลังงานธรรมชาติ หันมาใช้พลังงานสะอาด รวมถึงมีวิธีจัดการผลิตภัณฑ์หลังใช้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ซึ่งสีเบเยอร์เป็นหนึ่งในนั้น
5 สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่ควรรู้
อาจไม่ใช่ทุกครั้งที่ผู้บริโภคจะรู้ลึกว่าผลิตภัณฑ์ที่เราสนใจนั้นรักษ์โลกหรือไม่ แต่ 5 สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่รวบรวมมาให้นี้ จะช่วยให้เราสังเกตเห็นและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถือเป็นการร่วมลดการทำลายสิ่งแวดล้อมและโลกนั่นเอง จะมีสัญลักษณ์อะไรบ้างไปดูกันเลย
1. ฉลากลดโลกร้อน
หรือในชื่อเต็มว่า ฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Reduction) เป็นฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฐจักรชีวิต ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ ผลิต ขนส่ง ใช้งาน ไปจนถึงกำจัดผลิตภัณฑ์หลังใช้
ซึ่งการจะได้รับฉลากลดโลกร้อนจะต้องผ่าน 2 เกณฑ์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้แก่
- ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ปีปัจจุบันเปรียบเทียบกับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน (ข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี) ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับ 2%
- ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ปีปัจจุบันต่ำกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) ของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์
โดยผลิตภัณฑ์สีเบเยอร์คูล ไดมอนด์ชิลด์ 15 เป็นผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร รายแรกในไทย ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนสูงสุด (สีทอง) ในกลุ่มธุรกิจสีด้วย
2. ฉลากเขียว
ผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากเขียว (Green Label Thailand) หรือฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะผ่านการตรวจสอบจากองค์กรกลางแล้วว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้มาตรฐานและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ และการทำลายทิ้งที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับฉลาก ซึ่งจะมีข้อกำหนดต่างกันไปในแต่ละหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์
สำหรับสีเบเยอร์จะมีสีจำนวน 3 ประเภทที่มีฉลากเขียวข้างบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งหมด 28 รุ่น ได้แก่
- สีทับหน้าสูตรน้ำ ชนิด Semi Gloss และ Gloss จำนวน 13 รุ่น
- สีทับหน้าสูตรน้ำ ชนิดด้าน จำนวน 11 รุ่น
- สีรองพื้นสูตรน้ำ จำนวน 4 รุ่น
3. ฉลาก LEED
LEED Certification (Leadership in Energy and Environmental Design) จัดตั้งโดย U.S. Green Building Council (USGBC) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระบบประเมินคะแนนการใช้สิ่งก่อสร้างและออกแบบอาคารสีเขียวหรืออาคารทุกรูปแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตลอดวัฐจักรชีวิตของอาคาร
จุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการใช้วัสดุก่อสร้างอาคารหมุนเวียนและยั่งยืน รวมถึงยกระดับความปลอดภัยและสุขอนามัยของผู้ใช้อาคารและชุมชน
ตามข้อกำหนดของ LEED v.4 ฉบับปรับปรุงจะประเมินคะแนนผ่านประสิทธิภาพของอาคารในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่กระบวนการเชิงบูรณาการ พื้นที่ยั่งยืน สถานที่และการขนส่ง ประสิทธิภาพของการใช้น้ำ พลังงานและชั้นบรรยากาศ คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ไปจนถึงนวัตกรรมในการออกแบบ โดยมีการรับรองทั้งหมด 4 ระดับ ได้แก่
- LEED certified – 40 ถึง 49 คะแนน
- LEED Silver – 50 ถึง 59 คะแนน
- LEED Gold – 60 ถึง 69 คะแนน
- LEED Platinum – 80 ถึง 110 คะแนน
ในส่วนของสีเบเยอร์ที่ได้รับฉลาก LEED v4.1 รับรองด้านสารระเหยที่เป็นอันตราย (Low VOCs) ก็เช่นสีบ้านเย็น ประหยัดพลังงานอย่าง เบเยอร์คูล ไดมอนด์ชิลด์ 15 และสี 2in1 สูตรน้ำอย่าง เบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน รัสท์พรูฟ
4. ฉลาก WELL
WELL Building Standard เป็นมาตรฐานการออกแบบอาคารใหม่ระดับสากลที่ใส่ใจสภาพแวดล้อม การเป็นอยู่ รวมถึงสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัยหรือใช้อาคาร จาก International WELL Building Institute (IWBI) โดย WELL v2 จะประเมินอาคารภายใต้ 10 หัวข้อสำคัญ ได้แก่ อากาศ น้ำ โภชนาการ แสง การเคลื่อนไหว สภาวะสบาย เสียง วัสดุอาคาร จิตใจ และชุมชน
เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้อาคารจะได้รับสูดอากาศที่บริสุทธิ์ ปราศจากสารพิษ ได้ใช้น้ำสะอาด โภชนาการที่ครบถ้วนและถูกสุขลักษณะ แสงสว่างที่ทั่วถึงและพอดี มีพื้นที่ให้ได้ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย คุณภาพอากาศที่สบายตัว ไม่มีมลพิษทางเสียงคอยรบกวน วัสดุอาคารปลอดภัยไม่ปนเปื้อน ตลอดจนสามารถผ่อนคลายจิตใจภายใต้ธรรมชาติรอบตัว
ฉลาก WELL ที่สีเบเยอร์มีก็รับรองการปล่อยสารพิษที่เป็นไปตามมาตรฐาน ถือเครื่องการันตีถึงความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารหรือผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น เบเยอร์ชิลด์ แอร์เฟรช โกลด์ ไอออน ซึ่งถูกยกให้เป็นสีทาภายในที่แม่และเด็กไว้วางใจที่สุด จากงาน theAsianparent Awards 2023 ด้วย
5. ฉลากอุตสาหกรรมสีเขียว
ฉลากอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) จากกระทรวงอุตสาหกรรมเกิดจากแนวคิดการพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมกับการบริหารจัดการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้ภายในองค์กรตระหนักรู้และร่วมกันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
โดยฉลากอุตสาหกรรมสีเขียวจะมีด้วยกัน 5 ระดับ ได้แก่
- ระดับ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) ที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ระดับ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) ดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จ
- ระดับ 3 ระบบสีเขียว (Green System) บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และได้รับรางวัลหรือมาตรฐานรับรองด้านสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันสีเบเยอร์ก็ได้รับฉลากในระดับนี้
- ระดับ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) เสริมสร้างให้ทุกคนในองค์ร่วมกันดำเนินงานและขับเคลื่อนธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม
- ระดับ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) ไม่เฉพาะภายใน แต่สนับสนุนคู่ค้าหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมสีเขียวไปด้วยกัน เพื่อส่งต่อแนวคิดรักษ์โลกและขยายเครือข่ายสีเขียวให้กว้างยิ่งขึ้น
ฉลาก Green Industry หรืออุตสาหกรรมสีเขียวจึงเป็นเครื่องการันตีถึงสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุง พัฒนา และรับผิดชอบทั้งกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืนนั่นเอง
นอกเหนือจาก 5 สัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ยังมีฉลากหรือสัญลักษณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และความปลอดภัยอีกมากที่บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับโลก สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น ฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 จากกระทรวงพลังงาน ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) มาตรฐานความปลอดภัยจากโลหะหนักอันตราย (EN71) รวมถึงมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจุดสังเกตสำคัญที่รอให้เราหันกลับมามอง ตระหนักรู้ และร่วมกันลดผลกระทบต่อโลกตั้งแต่นี้เป็นต้นไป