มีเจ้าของบ้านท่านหนึ่งทักแชทเข้ามาขอให้แอดมินช่วยเหลือ เค้าบอกว่าที่บ้านมีปัญหาฝ้าเพดานสีบวมพองซ่อมไปหลายครั้งก็กลับมาเป็นอีก แล้วพอสอบถามเรื่อย ๆ ก็พบว่าบ้านมีดาดฟ้าเก่าที่ไม่ได้รีโนเวทมาหลายปี ซึ่งส่วนนี้แหละที่น่าจะเป็นต้นเหตุที่รั่วซึม วันนี้เบเยอร์จึงอาสาไปตรวจสอบและจัดการให้ โดยจะใช้เคมีภัณฑ์กันซึมดาดฟ้าตัวท็อปอย่าง เบเยอร์ รูฟซีล คูล มาเป็นตัวช่วย ลองไปดูรีวิววิธีซ่อมดาดฟ้ารั่วซึมกันได้เลย
รีวิว ทาสีกันซึมดาดฟ้า
จากการตรวจสอบพื้นผิวดาดฟ้าเดิม พบว่ามีการเสื่อมสภาพอยู่พอสมควรเลย มีทั้งรอยรั่ว รอยร้าว เชื้อราตะไคร่น้ำ ไม่แปลกที่จะเกิดการรั่วซึม ซึ่งก่อนจะไปแก้ปัญหารั่วซึมเราจะต้องทำการเตรียมพื้นผิว ด้วยการขัดล้าง ฉีดทำความสะอาด เอาพวกสิ่งสกปรก ฝุ่นผง รวมถึงเชื้อราตะไคร่น้ำออกไปออกไป
ต่อมาเพื่อให้เชื้อราตะไคร่น้ำตาย เราจะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ เบเยอร์ โมลด์ ฟรี M-001 ที่ผลิตภัณฑ์สูตรน้ำ สีใส กลิ่นอ่อน ที่สามารถกำจัดได้ถึงรากโคน ทาให้ชุ่ม ๆ ทั้งพื้นที่ ข้อดีของน้ำยาตัวนี้คือทาทิ้งไว้ได้เลยไม่ต้องล้างออก ระหว่างทาถ้ามีฟองสีขาว ๆ เกิดขึ้นไม่ต้องตกใจ มันเป็นเรื่องปกติเดี๋ยวพอแห้งฟองเหล่านี้ก็จะหายไปครับ
พอน้ำยาฆ่าเชื้อราตะไคร่น้ำแห้งดีแล้ว (ประมาณ 3 ชั่วโมง) ก็ลงมือทาสีรองพื้นก่อน 1 เที่ยว ซึ่งเราจะเลือกใช้สีรองพื้นอเนกประสงค์ที่ทนความชื้นได้สูง และสามารถป้องกันการเกิดเชื้อราได้ อย่างเบเยอร์ โปรควิก บี-1900 แนะนำให้ทาให้ทั่วเลยนะครับ ตามซอกตามมุม จากนั้นก็รอให้สีรองพื้นแห้งซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง
หลังจากสีรองพื้นที่ทาไปแห้งแล้ว ยังครับเรายังทากันซึมไม่ได้ เนื่องจากพื้นผิวยังมีรอยแตกร้าว รูพรุนต่าง ๆ อยู่ ในขั้นตอนนี้เราจะใช้ผลิตภัณฑ์ กรณีถ้าเป็นรอยแตกเล็ก ๆ ขนาดไม่เกิน 1 มม. เราจะใช้ Beger Acrylic Filler F-200 และถ้าเป็นรายแตกที่ขนาดใหญ่กว่านั้นแต่ไม่เกิน 10 มม. เราจะใช้ Beger Acrylic Sealant F-001 อุดโป๊วในทุกจุดที่เป็นปัญหา
เอาล่ะครับในที่สุดก็ถึงเวลาพระเอกของเราออกโรง กับขั้นตอนการทากันซึม Beger ROOFSEAL Cool PU Hybrid ซึ่งเราจะทากันทั้งหมด 3 เที่ยว ซึ่งครั้งนี้เจ้าของบ้านรีเควสเป็นเฉดสีเทา #207
ในเที่ยวแรก เราจะต้องนำรูฟซีลคูลไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน สี 3 ส่วน น้ำ 1 ส่วน คนผสมให้เนื้อสีกับเข้ากัน แล้วนำไปทาให้ทั่วพื้นที่ เพื่อเป็นการรองพื้น แนะนำให้แยกถังในการผสมเนื่องจากในเที่ยวที่สองเราจะใช้แบบไม่ผสมน้ำ
ในบริเวณที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างขอบผนังกับพื้น เราจะทำการปูด้วยแผ่นไฟเบอร์กลาส เบเยอร์ ไฟเบอร์ เมช เพื่อเสริมแรงยึดเกาะ แต่ก่อนจะปูให้ทำการทารูฟซีลคูลลงไปก่อนอารมณ์เหมือนทาเป็นกาว และเมื่อติดตั้งแผ่นไฟเบอร์เมชแล้ว ให้ทารูฟซีลทับอีกรอบให้แผ่นกับพื้นผิวเกาะติดกันแน่นขึ้น จากนั้นทิ้งให้แห้งประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
ในเที่ยวที่สอง เราจะทาและกลิ้งด้วยเบเยอร์ รูฟซีล คูล (ที่ไม่ผสมน้ำ) ให้ทั่วทั้งพื้นที่ แล้วรอให้แห้งประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง เช่นเดียวกัน
ในเที่ยวที่สาม เที่ยวสุดท้ายนี้จะพิเศษกว่าสองเที่ยวที่ผ่านมาคือ เมื่อทาเสร็จแล้วต้องรอให้สีแห้งอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพื่อให้สีเซ็ตตัวได้อย่างเต็มที่ ก่อนจะใช้งานหรือเหยียบย่ำ
ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม ควรรีบแก้ไข เพราะนอกจากจะทำให้น้ำรั่วเข้ามาสู่ตัวบ้าน บางทีอาจจะทำให้น้ำซึมไปที่โครงสร้างที่เป็นเหล็กในผนังจนเกิดการผุกร่อนขึ้นสนิมได้ ซึ่งกันซึมดาดฟ้า Beger ROOFSEAL Cool สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งนอกจากจะได้ดาดฟ้าสวย ๆ คืนกลับมา ยังช่วยให้บ้านไม่ร้อนได้อีกด้วย เรียกได้ว่า ทาครั้งนึง ได้ทั้ง กันรั่ว กันร้าว กันร้อน และกันเชื้อราเลยครับ
ทำไมต้องใช้ Beger ROOFSEAL Cool
- กันรั่ว สามารถทนน้ำขังได้สูงสุดถึง 30 วัน เหมาะมากสำหรับหน้าฝนนี้
- กันร้อน มีส่วนผสมของ เซรามิก คูลลิ่ง ที่ช่วยสกัดกั้นและสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 94.6%
- กันร้าว สามารถยืดหยุ่นได้สูงมาก ๆ กว่า 600% ช่วยป้องกันปัญหาพื้นผิวแตกร้าว จากการขยายตัว-หดตัวของพื้นผิว
- กันเชื้อราตะไคร่น้ำ ช่วยบล็อกความชื้นไม่ให้สะสมที่พื้นผิวได้
เบเยอร์ รูฟซีล คูล ทาอะไรได้บ้าง
- ดาดฟ้าคอนกรีต
- กระเบื้องลอนคู่
- กระเบื้องโมเนีย
- ผนังร้าว
- ไม้เทียม
- เมทัลชีต