ปัญหาผนังชื้น (Dampness In Walls) สังเกตได้จากรอยน้ำซึมเป็นวง ๆ บนพื้นผิว มักเป็นผลมาจากรอยแตกร้าวที่ผนังบ้าน หลังคา ฝ้าเพดาน รวมถึงขอบประตูหรือหน้าต่าง ทำให้น้ำฝนหรือความชื้นแทรกซึมเข้ามาสะสมอยู่ในชั้นผนัง ส่งผลให้เกิดปัญหาสีตามมา เช่น สีบวมพอง ลอกล่อน หรือเชื้อราและตะไคร่น้ำ
สาเหตุของผนังชื้น
- รอยแตกร้าวบริเวณผนัง ขอบประตูหรือหน้าต่าง กระเบื้องหลังคา เพดาน
- ผนังโดนน้ำฝน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน
- ระบบประปารั่ว รางระบายน้ำฝนอุดตันหรือท่อน้ำภายในแตก
- การเลือกใช้วัสดุผนังที่มีรูพรุนซึ่งดูดซับน้ำฝนและความชื้นได้ง่ายอย่างอิฐ หินล้าง หรือหินธรรมชาติ
- ฟิล์มสีกันชื้นหรือน้ำยาเคลือบกันซึมคุณภาพไม่ดีหรือเสื่อมคุณภาพจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน
- อากาศภายในบ้านระบายได้ไม่ดี อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
แนวทางแก้ไขผนังชื้น
- หากมีฟิล์มสีพองให้ขูดออกให้หมดด้วยเกรียงโป๊ว เตรียมพื้นผิวให้แห้งสะอาด ปราศจากฝุ่นผงหรือเศษฟิล์มสีใด ๆ
- กรณีมีคราบเชื้อราและตะไคร่น้ำ แนะนำให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ Beger MouldFree M-001 จำนวน 1 เที่ยว
- กรณีผนังก่ออิฐโชว์ หินธรรมชาติ หรือปูนเปลือย แนะนำให้ทาน้ำยาเคลือบเงาใสกันซึม Beger A-100 Water Repellent Gloss จำนวน 2-3 เที่ยว
- อุดซีลรอยรั่วซึมหรือทำระบบกันซึมก่อนลงระบบสี ยกตัวอย่างเช่น
- รอยแตกร้าวขนาดเล็กแนะนำซีลแลนท์หลอดที่มีความยืดหยุ่นสูงอย่าง Beger Sealant โดยเฉพาะ Beger PU Seal
- รอยแตกขนาดใหญ่หรืองานที่ต้องการความทนทานเพิ่มขึ้นแนะนำ Beger Acrylic Sealant F-001
- กันซึมดาดฟ้าหลังคาแนะนำ Beger Roof Seal Cool PU Hybrid ใช้ร่วมกับตาข่ายไฟเบอร์ Beger Fiber Mesh
- ทาสีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ทนชื้นสูง 35% ขึ้นไปอย่าง Beger Pro Quick Primer B-1900, Beger Super Quick Primer B-2100 หรือ Beger Water Block B-3100 จำนวน 1-2 เที่ยว
- ทาสีทับหน้าด้วยสีทาบ้านที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการ เช่น สีทาภายนอกอย่าง BegerCool DiamondShield 15 หรือสีทาภายในอย่าง BegerShield AirFresh Anti-Virus Gold iON จำนวน 2 เที่ยว