เชื้อรา ตะไคร่น้ำ ปัญหาบ้านหน้าฝนสุดปวดใจ แต่ถึงแม้จะไม่ใช่หน้าฝนมันก็ตามมาหลอกลอนได้อยู่ดี เนื่องจากสาเหตุของปัญหานี้คือ "ความชื้น" ทั้งความชื้นจากรอยแตกร้าว รั่วซึมต่าง ๆ หรือความชื้นชายล่างติดพื้นดิน ยิ่งมีความชื้นสะสมมาก ยิ่งเกิดได้บ่อย หลายท่านที่อยากกำจัดมันอาจจะใช้วิธีการขัดถู ฉีดล้าง แต่ก็พบกว่าเพียงไม่นานปัญหาเดิมก็กลับมาใหม่ เนื่องจากตัวเชื้อจริง ๆ ยังไม่ได้ถูกกำจัดออกไป วันนี้เบเยอร์เอาเคล็ดลับวิธีกำจัดเชื้อราตะไคร่น้ำ ทุกบริเวณของบ้านให้สิ้นซาก และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำกวนใจมาฝาก
ประเภทของเชื้อราและตะไคร่น้ำที่พบบ่อยบนพื้นผิว
เชื้อราและตะไคร่น้ำ มันไม่ได้ส่งผลร้ายแค่ทำให้บ้านไม่สวย แต่ยังอาจทำให้คุณป่วยได้ด้วย เนื่องจากเชื้อราจะมีสปอร์ที่เป็นอันตรายต่อคนหรือสัตว์เลี้ยง และตะไคร่น้ำก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หรือถ้าอยู่บนพื้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ ทางที่ดีควรรีบกำจัดเชื้อราตะไคร่น้ำให้หมดไปจากบ้าน ซึ่งก่อนอื่นลองไปทำความรู้จักประเภทของเชื้อราและตะไคร่น้ำที่พบในบ้านกันก่อน
ราดำ
เป็นเชื้อราที่พบได้บ่อยมากที่สุดในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ชายล่าง ผนังบ้าน ฝ้าเพดาน หรือกำแพงบ้าน เป็นต้น ลักษณะจะมีสีดำเป็นจุด ๆ หรือหนาแน่นเป็นปื้นสีดำ ราดำบางสายพันธุ์สามารถผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตัวเราและสัตว์เลี้ยงได้
ราขาว
ราสีขาว ที่หลายคนมักเข้าใจผิด เพราะลักษณะของมันมีสีขาวคล้ายกับคราบด่างเกลือบนพื้นผิว (Efflorescence) วิธีสังเกตให้ใช้น้ำฉีดพ่นไปยังที่รอยดังกล่าว หากรอยสีขาวยังคงอยู่นั่นคือเชื้อรา ไม่ใช่คราบเกลือ
ตะไคร่น้ำ
ตะไคร่น้ำ หรือ มอส เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่ง ลักษณะคราบสีเขียว ๆ ที่เกาะตามพื้นผิวต่าง ๆ หลายคนอาจจะเรียกว่า มอส มันคือสาหร่ายจำพวกหนึ่งที่ชอบความชื้น แสงแดด เป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งถ้าขึ้นบนพื้นมันจะลื่น ถ้าเหยียบแล้วมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูง
ขั้นตอนกำจัดเชื้อราตะไคร่น้ำ ให้หายขาดไม่กลับมากวนใจ
และที่สำคัญควรแก้ไขด้วยวิธีที่ถูกต้องเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายหรือกลับมาเกิดขึ้นซ้ำ
1. ขัดล้างทำความสะอาด
ไม่ว่าคุณจะอยากกำจัดเชื้อราที่ผนัง ที่ฝ้า หรือที่พื้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ การขัดล้างทำความสะอาดพื้นผิว อาจจะใช้แปรงทองเหลือง หรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ขัดให้เชื้อราตะไคร่น้ำออกมาให้ได้มากที่สุด แต่สิ่งที่ควรระวังคือ ห้าม! ขัดเชื้อราในขณะที่พื้นผิวแห้งโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สปอร์ราแพร่กระจายไปจุดอื่น และทำอันตรายต่อร่างกาย ต้องขัดในขณะที่พื้นผิวเปียกเท่านั้น นอกจากนี้คุณควรสวมแว่นตา หรือหน้ากากอนามัยขณะลงมือขัดล้างทำความสะอาดด้วยเพื่อความปลอดภัย
- กรณีฝ้าเพดาน ที่เป็นฝ้าประเภทที-บาร์ ควรถอดออกมาล้างทีละแผ่น
- ถ้าไม่มีแปรงทองเหลืองอาจจะใช้แปรงโลหะอื่นๆ ได้
- เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงควรเลือกที่มีความแรง 100 บาร์ เป็นต้นไป
- ในการขัดล้างอาจทำให้ฟิล์มสีหลุดลอกออกมาได้
2. ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ
หลังจากขัดล้างทำความสะอาด ทิ้งผนังให้แห้งสนิทอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ให้ทา น้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ เบเยอร์ โมลด์ฟรี M-001 บนพื้นผิวที่มีปัญหาให้ชุ่ม 1 เที่ยว ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง โดยไม่ต้องล้างออก แล้วจึงทาสีตามระบบ ได้แก่ สีรองพื้นทนชื้นสูง สีทาภายนอก หรือสีทาภายใน โดยน้ำยานี้จะช่วยฆ่าเชื้อราที่ยังหลงเหลืออยู่ได้ถึงรากถึงโคน พร้อมป้องกันการเกิดใหม่ของเชื้อราตะไคร่น้ำได้อย่างยาวนาน
กรณีเป็นงานพื้นเมื่อทาน้ำยาฆ่าเชื้อราตะไคร่น้ำแล้ว เพื่อการป้องกันสูงสุด อาจจะเคลือบพื้นอีกชั้นด้วยน้ำยาเคลือบใสกันซึม Beger A-200 PU Hybrid อีก 2 เที่ยวเพื่อบล็อคความชื้น ก็จะช่วยให้เชื้อราตะไคร่น้ำเกิดซ้ำยากขึ้นไปอีกขั้น
3. ทาสีรองพื้นปูนทนความชื้นสูง
แม้จะทำความสะอาดและทาน้ำยาฆ่าเชื้อราไปแล้ว บางทีคราบดำ ๆ รอยเขียว ๆ ก็ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่ และจะยังอยู่ต่อไป ถ้าอยากจะขจัดรอยเหล่านั้นจำเป็นต้องทาสีใหม่สถานเดียว ซึ่งในการทาสีตามระบบ สีชั้นแรกที่ควรทาคือ สีรองพื้น แนะนำให้ใช้สีรองพื้นเนื้อสีขาวที่มีคุณสมบัติทนความชื้นสูง เช่น สีรองพื้น เบเยอร์ โปร ควิก B-1900 ที่จะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาดังกล่าวได้ เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เชื้อราตะไคร่น้ำชอบความชื้นมาก ถ้าพื้นผิวไม่ชื้นเชื้อราก็ไม่เกิด
4. ทาสีที่มีคุณสมบัติป้องกันเชื้อราตะไคร่น้ำ
บางท่านอาจจะไม่ทราบมาก่อนว่า สีทาบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสีทาภายใน หรือสีทาภายนอก ก็มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราและตะไคร่น้ำได้ด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะสีเกรดสูง ๆ เช่น สีทาภายนอก เบเยอร์คูล ไดมอนด์ชิลด์ 15 หรือสีทาภายใน เบเยอร์ชิลด์ แอร์เฟรช แอนตี้ไวรัส โกลด์ ไอออน
วิธีกำจัดเชื้อราตะไคร่น้ำ ที่เบเยอร์แนะนำไปเป็นวิธีที่จะทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่กลับมาเกิดซ้ำอีกยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามหากพื้นผิวยังคงโดนความชื้นอย่างต่อเนื่อง เชื้อราและตะไคร่น้ำก็มีโอกาสกลับมาเกิดซ้ำได้ (แต่อาจจะใช้เวลานานกว่าปกติเพราะฤทธิ์ของน้ำยาฆ่าเชื้อราที่ทาไว้) ทั้งนี้คุณควรตรวจสอบจุดที่มีความชื้นในบริเวณบ้านอย่างสม่ำเสมอ และรีบดำเนินการแก้ไข เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบ้านอื่น ๆ ที่อาจตามมาจากความชื้น เช่น ปัญหารั่วซึม ลอกล่อน หรือแตกร้าว นั่นเอง