บางท่านที่กำลังจะทาสีโครงหลังคา และกำลังรอให้หน้าฝนหมดไปก่อน ตอนนี้คงถึงเวลาที่จะได้ลงมือสักที การที่เราต้องรอขนาดนี้นั้นก็เพราะในการทาสีโครงเหล็ก ไม่ว่าจะเป็นโครงหลังคาโรงจอดรถ โครงหลังคาเรือนเพาะชำ หรือโครงหลังคาเหล็กอื่นๆ ปกติจะต้องทาหลายเที่ยว หลายขั้นตอน และแห้งช้ามากเป็นวันๆ (ขั้นต่ำ 10 ชั่วโมง) เผลอๆ ถ้าฝนตกก็อาจจะไม่แห้งด้วยซ้ำ
แต่ปัจจุบันการทาสีโครงหลังคานั้นสามารถทาให้เสร็จในเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมงได้! ว่าแต่จะต้องเลือกใช้สีแบบไหน ทาอย่างไร และมีขั้นตอนอะไรบ้างลองตามไปดูกันได้เลย
เลือกสีทาโครงหลังคาต้องดูอะไรบ้าง
เนื่องด้วยโครงหลังคาที่เราจะทาสี ส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก อันดับแรกจึงต้องเลือกใช้สีที่เหมาะสมกับงานบนพื้นผิวเหล็กเท่านั้น เช่น สีน้ำมัน ต่อมาด้วยความที่โครงเหล็กนี้จะต้องอยู่ภายนอกบ้าน เจอลม เจอฝน เจอแดด ดังนั้นสีที่เลือกใช้ต้องมีความทนสภาวะที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเรื่องน้ำเรื่องฝน ที่อาจส่งผลให้เหล็กเกิดสนิมได้ ดังนั้นจึงควรเลือกสีที่คุณสมบัติการกันสนิมได้ดี หรืออย่างน้อยก็ควรมีคุณสมบัติหยุดการลามของสนิมได้กรณีที่เหล็กเดิมมีสนิม และสุดท้ายก็ดูเฉดสีที่คุณต้องการว่าสีที่คุณเลือกมีสีดังกล่าวหรือไม่ เป็นต้น
- ดูประเภทสีให้ตรงกับงาน
- ดูคุณสมบัติการกันสนิม
- ดูเฉดสีที่ชอบ
ใช้สีอะไรทาโครงหลังคา
ส่วนใหญ่จะเลือกใช้เป็น สีน้ำมันประเภทแอลคีด เนื่องจากสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวเหล็กและพื้นผิวไม้ได้ดี แต่ข้อเสียของสีน้ำมันประเภทนี้คือ มีกลิ่นค่อนข้างแรง และแห้งช้ามาก ด้วยเหตุนี้จึงมีผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นมาลบจุดด้อยดังกล่าวที่เรียกว่า สีน้ำมันประเภทอะคริลิก หรือสีน้ำมันสูตรน้ำ ที่มีคุณสมบัติแห้งไวใน 1 ชั่วโมง จากเดิมแห้ง 4 - 6 ชั่วโมงนั่นเอง
ขั้นตอนการทาสีโครงหลังคา
โดยทั่วไปในการทาสีโครงหลังคาเหล็ก ทั้งที่เป็นเหล็กกล่อง เหล็กดำ หรือเหล็กกัลวาไนซ์ จะมีขั้นตอนหลักๆ 3 ขั้นตอนได้แก่ การเตรียมพื้นผิว การทาสีรองพื้นกันสนิม 1 เที่ยว (หรือทาวอชไพร์เมอร์ 1 เที่ยว กรณีเป็นโลหะผิวมันวาว) แล้วจบท้ายด้วยการทาสีน้ำมัน 2 เที่ยว แต่ละเที่ยวมีระยะเวลาแห้งทาทับ 6 - 8 ชั่วโมง
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการทาสีเหล็กแต่ละครั้งถึงใช้เวลามหาศาล แต่อย่างที่กล่าวไป ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าเราใช้ สีน้ำมันสูตรอะคริลิก นอกจากนี้ในบางรุ่นจะมีการผสมสีรองพื้นกันสนิมมาให้ในตัว ช่วยให้ประหยัดเวลาในการทาขึ้นจากเดิมได้หลายสิบเท่า ง่ายๆ จากต้องทา 4 เที่ยว เหลือแค่ 2 เที่ยวเท่านั้น!! ซึ่งมี 2 ขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1. เตรียมอุปกรณ์ เตรียมพื้นผิว ขัดสนิม
ในขั้นตอนนี้ เป็นการทำเพื่อให้พื้นผิวพร้อมที่จะลงสี กรณีเป็นเหล็กใหม่ หรือเป็นเหล็กที่ผ่านการทำสีมาแล้วและพื้นผิวยังสภาพดีอยู่ ให้เช็ดทำความสะอาดฝุ่น คราบออกให้หมด
แต่หากเหล็กมีน้ำมันเคลือบไว้ ให้ใช้ผ้าชุบทินเนอร์ M-77 หรือทินเนอร์กระทิง AAA แล้วถ้าเป็นเหล็กกัลวาไนซ์ หรือเหล็กที่มีความมันวาวอาจจะใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดลูบสักเล็กน้อย
BegerShield Griptech 2 In 1 |
เบเยอร์ ทินเนอร์ M-77 |
ทินเนอร์กระทิง AAA |
กรณีที่เป็นเหล็กเก่าที่เคยทาสีและฟิล์มสีลอกล่อน คุณต้องใช้เกรียงขูดสีเดิมออกก่อน และยิ่งถ้าเหล็กมีสนิมยิ่งจำเป็นต้องขัดสนิมเดิมออกให้ได้มากที่สุดก่อนนะครับ อาจจะใช้กระดาษทรายหรือแปรงทองเหลืองขัดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าสนิมมีมากหรือน้อย
อุปกรณ์สำหรับการทาสีโครงหลังคา
- สีน้ำมันสูตรอะคริลิก เบเยอร์ชิลด์กริปเทค 2 In 1
- ทินเนอร์เบเยอร์ M-77
- แปรงทาสีชนิดขนหมู ขนาดขึ้นอยู่กับชิ้นงานเหล็ก (อาจจะ 2.5 นิ้ว เป็นต้นไป)
- ลูกกลิ้งขนสั้น
- กระดาษทรายเบอร์ 320 ลงไป
- แปรงทองเหลือง
2. ลงมือทาสี
ข้อดีของสีทาเหล็กกริปเทคทูอินวัน คือสามารถเปิดฝาคนๆ ให้เข้ากันสักครู่แล้วทาได้เลยไม่ต้องผสมทินเนอร์แต่อย่างไร เพียงแต่กรณีที่อาการศร้อนๆ ใช้งานกลางแดดจัด อาจจะนำทินเนอร์ M-77 หรือ กระทิง AAA มาผสมได้ ในอัตราส่วน 10 - 15% สามารถทาด้วยแปรง ลูกกลิ้ง หรือจะใช้เครื่องพ่นก็ได้
แล้วที่สำคัญคือไม่ต้องทาสีรองพื้นกันสนิม เพราะในผลิตภัณฑ์ที่เป็นสีทาเหล็ก 2 In 1 แบบนี้จะมีรองพื้นกันสนิมผสมมาให้ในตัวเลย ประหยัดเวลาไปได้อีกพอสมควร
จากนั้นก็ลงมือทาเที่ยวที่ 1 ได้เลย พอทาเที่ยวแรกเสร็จก็ทาเที่ยวที่สองต่อ โดยเว้นให้แต่ละเที่ยวแห้งประมาณ 1 ชั่วโมง และก็รอให้สีเที่ยวที่สองแห้ง ก็เข้าใช้พื้นที่ได้เลย
อย่างที่บอกไปสีน้ำมันที่ทำมาจากอะคริลิกตัวนี้ จะมีคุณสมบัติแห้งไว กลิ่นจางไว และทนทานกว่า ถ้าทาสีขาวก็จะขาวได้นานไม่เหลืองตัว แล้วนอกจากโครงหลังคา เหล็กแล้ว ก็ยังสามารถเอาไปทาเมทัลชีท หรือโครงหลังคาที่ทำจากไม้ได้ด้วยนะครับ เรียกได้ว่า เป็นสีทาเหล็กอเนกประสงค์เลยครับ
จุดที่ต้องระวังในการทาสีโครงหลังคาเหล็กให้ไม่เป็นสนิม
แม้จะเหล็กบางชนิดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสนิมได้ยากอย่างเหล็กกัลวาไนซ์ ที่ผ่านการเคลือบชุบกันสนิมมาให้แล้ว แต่ก็สามารถเกิดสนิมขึ้นได้ โดยเฉพาะบริเวณเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ บริเวณรอยต่อ รอยเชื่อมเหล็ก และบริเวณที่เจาะรูน็อตหรือตะปู แนะนำว่าให้ทาสีที่บริเวณเหล่านั้นด้วยนะ
การทาสีนอกจากจะให้เรื่องความสวยงามแล้ว ยังช่วยเสริมความทนทานให้กับเหล็ก ทนสภาวะต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะ เรื่องสนิม ศัตรูคู่ปรับของงานเหล็กแทบทุกประเภท การเลือกสีทาโครงหลังคาที่เหมาะสมกับลักษณะงาน จะช่วยให้โครงเหล็กเหล่านั้นสวยทนทาน อยู่กับบ้านของคุณได้นานยิ่งขึ้นครับ