รวมสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาร้อนอบอ้าวก่อนฝนตกง่าย ๆ แต่ได้ผล

ทำไมร้อนอบอ้าวก่อนฝนตก

เคยสังเกตกันไหมว่าก่อนฝนตกทีไรเราจะรู้สึกร้อนอบอ้าวทุกที เนื้อตัวก็เหนียว อึดอัด ครั่นตัวไปหมด ปัญหานี้อธิบายง่าย ๆ ได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังมีวิธีแก้ไขและป้องกันอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงหน้าฝนที่ทุกคนทำได้ง่ายเพียงปลายนิ้วด้วย ไปดูกันเลย! 

 

ทำไมก่อนฝนตกถึงร้อนอบอ้าว?

อากาศร้อนอบอ้าวก่อนฝนตกเป็นหนึ่งในปัญหาหน้าฝนที่ทุกบ้านเจอแน่นอน แม้จะดูไม่ส่งผลกระทบต่อบ้านหนักเท่าปัญหาบ้านรั่ว ร้าว รา แต่ความรู้สึกร้อนที่มาพร้อมความอึดอัดตัวก็ทำให้เจ้าของบ้านทรมานได้ทั้งกายใจ ซึ่งสาเหตุที่ว่าทำไมก่อนฝนตกถึงร้อนอบอ้าวเกิดจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ ความชื้น และความร้อน ดังนี้
 

1. ความชื้น

เมฆฝนที่มารวมตัวกันส่งผลให้ปริมาณไอน้ำในอากาศเพิ่มมากขึ้น ความชื้นในอากาศจึงเพิ่มสูงตามไปด้วย โดยเรียกกันว่า “ความชื้นสัมพัทธ์สูง” ความหมายของมันคือ อากาศมีพื้นที่เพียงพอต่อการรองรับไอน้ำได้อีกไม่มาก ทำให้น้ำระเหยเป็นไอน้ำได้ยากขึ้น เหงื่อที่จะถูกระบายออกตามกระบวนการคายร้อนของร่างกายจึงระเหยออกมาได้ยากเช่นกัน เมื่อความร้อนไม่ถูกระบายออกก็จะสะสมอยู่ในตัวเรา เป็นที่มาของความรู้สึกร้อนอบอ้าว อึดอัด เหนียวตัว ครั่นเนื้อตัว แม้อุณหภูมิจริงจะเท่าเดิมก็ตาม

2. ความร้อน

ตามกระบวนการเกิดฝน ก่อนที่เมฆจะกลั่นตัวเป็นเม็ดฝน จะต้องคายความร้อนออกมา ซึ่งความร้อนนี้เองที่จะสะสมอยู่ระหว่างเมฆและพื้นดิน ส่งผลให้ตัวบ้านและบรรยากาศรอบตัวเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เราตอนอยู่ในบ้านรู้สึกอบอ้าวราวกับอาหารในเตาอบนั่นเอง

 

ความชื้นสูง vs ความชื้นต่ำ

 

วิธีแก้ร้อนอบอ้าวก่อนฝนตกมีอะไรบ้าง?

วิธีแก้และป้องกันร้อนอบอ้าวก่อนฝนตกจะเน้นไปที่การลดความร้อนหรือลดอุณหภูมิให้ได้มากที่สุด ทั้งลดอุณหภูมิร่างกายเราและอุณหภูมิบ้านเรา โดยสามารถทำตามได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • สวมเสื้อผ้าบาง เบาสบาย ไม่รัดแน่น ช่วยระบายเหงื่อจากร่างกายได้ดีขึ้น
  • อาบน้ำเย็น ดื่มน้ำเย็น ทานอาหารฤทธิ์เย็น วิธีนี้ช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย ทำให้เราเย็นจากภายใน 
  • เปิดห้อง เปิดพัดลมไล่อากาศ นอกจากจะช่วยดูดอากาศจากภายในห้องออกไปยังนอกห้องแล้ว ยังระบายอากาศให้ไหลเวียนและถ่ายเทได้ดีขึ้นด้วย 
  • เปิดแอร์ การทำงานของแอร์จะมีโหมด Dry ที่เป็นสัญลักษณ์รูปหยดน้ำ ช่วยปรับอุณหภูมิภายในห้องและลดความชื้นไปในตัว แต่ความเย็นที่ได้อาจจะไม่เท่าโหมดปกติ และโหมดนี้อาจทำให้อากาศแห้งได้ 
  • ทาสีบ้านเย็น ลดอุณหภูมิสูงสุด 6 องศาเซลเซียส อย่าง BegerCool DiamondShield 15 ด้วย 3 คุณสมบัติพิเศษ ได้แก่ กันร้อน สะท้อน ทนทาน จากสุดยอดนวัตกรรม เซรามิกคูลลิ่ง (Ceramic Cooling) และเทคโนโลยีพันธะเพชร (Diamond Bond) เสริมให้บ้านเย็นยาวนาน เมื่ออุณหภูมิบ้านลดต่ำลง อุณหภูมิรอบตัวเราก็จะต่ำตาม จึงรู้สึกเย็นสบายตัวแม้ไม่เปิดแอร์ หมดปัญหาร้อนอบอ้าวในช่วงหน้าฝนได้เป็นอย่างดี 

 

สีบ้านเย็น เบเยอร์คูล

 

เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันปัญหาร้อนอบอ้าวก่อนฝนตกหรือลดอุณหภูมิอย่างเต็มขั้นในทุกช่วงฤดู เมื่อทาสีทับหน้ากันร้อนแล้วก็อย่าลืมทาสีกันร้อนประเภทอื่น ๆ ให้เต็มระบบ จะได้เสริมคุณสมบัติกันร้อน สะท้อน และทนทานขั้นสุดไปเลย เช่น สีทากันซึมดาดฟ้าอย่าง Beger RoofSeal Cool สีทาหลังคาอย่าง BegerCool Roof หรือสีรองพื้นอย่าง Beger Flexi Cool Primer B-2800 กรณีที่มีข้อสงสัยในการใช้งานสีเบเยอร์ในระบบสีกันร้อน หรือมีแผนสร้างบ้าน รีโนเวทบ้าน แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรใช้สีตัวไหน เฉดไหนดี ถึงจะลดร้อนได้สูงสุด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราโดยตรงที่ Line: @begerpaint ในวันและเวลาทำการ

SHARE :
Please select the search topic and type related keywords