เหล็กกัลวาไนซ์ คือเหล็กที่มีความแข็งแรงคงทนไม่ต่างจากเหล็กทั่วไป แต่มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าเรื่องการกันสนิมได้ดี เนื่องจากผ่านกระบวนการนำเหล็กรูปพรรณ หรือเหล็กกล่องไปชุบ หรือเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc) ทำให้มีลักษณะเป็นสีเงินผิวมันวาว นิยมนำมาใช้กับงานกลางแจ้ง เช่น รั้ว โครงหลังคา รางน้ำฝน เสาต่างๆ หรือจุดที่ต้องโดนความชื้น หรือโดนฝนบ่อยๆ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
วิธีทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า
> ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว
> ขั้นตอนที่ 2 ทาวอชไพร์เมอร์
> ขั้นตอนที่ 3 ทาสีรองพื้นกันสนิม
> สีรองพื้นกันสนิมคืออะไร
> ขั้นตอนที่ 4 ทาสีน้ำมันเคลือบเหล็ก
เทคนิคทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบใหม่ ที่แห้งไวกว่า
> ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว
> ขั้นตอนที่ 2 ทาสีทับหน้า ด้วย เบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน
สรุป
สำหรับบางคนที่ไม่ชอบสีดั้งเดิมของเหล็กที่เงินวาว ก็อาจจะหาสีน้ำมันมาทาเคลือบผิวเพื่อให้ได้เฉดสีใหม่ตามต้องการ ซึ่งในการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า จำเป็นต้องทาวอชไพร์เมอร์เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ แล้วจึงลงสีน้ำมันเคลือบอีก 2 เที่ยว ทำให้กว่าจะทาเสร็จแต่ละครั้งก็กินเวลาเป็นวัน ๆ แต่วันนี้เบเยอร์มีเทคนิคการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ใหม่ ด้วยการใช้ สีทาหล็กกัลวาไนซ์ ที่ไม่ต้องทารองพื้น อีกทั้งยังแห้งไวมากในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง มาแนะนำกันครับ
ทำความรู้จักการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ แบบเดิม
การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ หรือเหล็กที่มีผิวมันวาวตามระบบเดิม จำเป็นต้องทาสีรองพื้นก่อน เนื่องจากความมันวาวของพื้นผิวจะทำให้ สีน้ำมันทับหน้ายึดเกาะ เช่น วอชไพร์เมอร์ แล้วจึงค่อยทาสีน้ำมันเคลือบผิวเหล็กเป็นชั้นสุดท้าย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว
ไม่ว่าจะทาสีเหล็กอะไร ระบบไหน จะเหล็กเก่าหรือเหล็กใหม่ จะต้องเตรียมพื้นผิวและทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดก่อนเสมอ
พื้นผิวเหล็กเก่า
- พื้นผิวเหล็กเก่าที่ผ่านการทำสีมาแล้ว ถ้าฟิล์มสีเดิมเสื่อมสภาพ ให้ทำการขัดล้างฟิล์มสีเดิมออก โดยอาจใช้เกรียงขูดลอก หรือใช้น้ำยาลอกสีเบเยอร์ยูนิซ็อฟ 9119 แล้วจึงทำความสะอาด ให้ปราศจากฝุ่นผง คราบสกปรก และคราบไขมันต่างๆ
- พื้นผิวเหล็กเก่าที่มีสนิม ให้ใช้กระดาษทรายหรือเครื่องขัดสนิมออกให้ได้มากที่สุด แล้วจึงทำความสะอาดพื้นผิว
- พื้นผิวเหล็กเก่าที่ยังไม่ได้ผ่านการทำสีใดๆ หรือสีเดิมที่ทายังมีสภาพดี ให้ทำความสะอาดตามปกติ
พื้นผิวเหล็กใหม่
- หากพื้นผิวเหล็กมีน้ำมันเคลือบอยู่ ให้นำผ้าชุบทินเนอร์ เบเยอร์ ทินเนอร์ M-77 เช็ดน้ำมันที่เคลือบออกก่อน แล้วจึงทำความสะอาดให้พื้นผิวไม่มีคราบไขมัน หรือฝุ่นผง
ขั้นตอนที่ 2 การทาวอชไพร์เมอร์
กรณีที่เป็นพื้นผิวเหล็กกัลวาไนซ์ใหม่ ให้ใช้ วอชไพร์เมอร์ (Wash Primer) ที่เป็นสีรองพื้นชนิดสองส่วน A : B ทำหน้าที่ปรับสภาพพื้นผิวของบรรดาโลหะผิวมันวาวให้สากขึ้น เพื่อช่วยในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวเหล็กกับสีเคลือบ โดยหลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้ เบเยอร์ วอชไพร์เมอร์ B-922 ในอัตราส่วนที่กำหนด A : B = 4 : 1 ไปทา หรือพ่น ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แล้วจึงทาสีชั้นถัดไป
ขั้นตอนที่ 3 การทาสีรองพื้นกันสนิม
หลังจากใช้วอชไพร์เมอร์แล้ว จะพบว่าพื้นผิวเหล็กที่มันวาวจะมีความสากขึ้น จริงๆ ในขั้นตอนนี้สามารถทาสีน้ำมันทับได้เลย เพียงแต่ถ้าอยากได้การป้องกันสนิมที่ครบที่สุด อาจจะทาสีรองพื้นเพิ่ม โดยสีรองพื้นกันสนิม จะทำหน้าที่ป้องกันการเกิดสนิมใหม่ ซึ่งแม้จะเป็นเหล็กกัลวาไนซ์ที่กันสนิมได้ แต่จุดที่เป็นรอยตะปู รอยที่เจาะรู หรือจุดเชื่อมเหล็ก ตรงจุดเหล่านั้นจะสูญเสียคุณสมบัติการทนสนิมไป จึงทำให้ต้องใช้สีรองพื้นกันสนิมมาทาเคลือบไว้ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นสีรองพื้นแดงกันสนิม สีรองพื้นเทากันสนิม และสีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่ชนิดสองส่วน
- สีรองพื้นแดงกันสนิม เป็นสีน้ำมันอัลคีดเรซินประเภทหนึ่งที่ผสมกับผงสีตะกั่วแดง(สีเสน) ให้เฉดส้มแดงๆ เหมาะกับพื้นผิวเหล็กใหม่ หรือเหล็กเก่าสภาพดี ได้แก่ เบเยอร์ชิลด์ บี-933
- สีรองพื้นเทากันสนิม เป็นสีน้ำมันอัลคีดเรซินประเภทหนึ่งที่ผสมกับผงสีซิงค์ฟอสเฟต ให้เฉดเทา เหมาะกับพื้นผิวเหล็กใหม่ หรือเหล็กเก่าสภาพดี ได้แก่ เบเยอร์ชิลด์ บี-911
- สีรองพื้นกันสนิมอีพ็อกซี่ชนิดสองส่วน เป็นรองพื้นกันสนิมที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด เกรดเดียวกับสีอุตสาหกรรมที่มีความทนทานสูง ทำให้สามารถหยุดสนิมได้ทันที เหมาะกับเหล็กเก่าที่มีปัญหาสนิมอยู่ก่อนแล้ว หรือเหล็กใหม่ที่ต้องการความทนทานสูง ได้แก่ เบเยอร์ รัสท์ การ์ด ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถใช้ Beger Rust Guard แทนสีทับหน้าของงานภายในได้เลย
ปกติเราจะทาสีรองพื้นกันสนิม 1 เที่ยว และใช้เวลาแห้งประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง แล้วจึงเริ่มทาสีน้ำมันเคลือบชั้นสุดท้าย
ขั้นตอนที่ 4 ทาสีเคลือบเงา
เมื่อสีรองพื้นกันสนิมแห้งแล้ว ให้ใช้สีน้ำมันตามเฉดสีที่ต้องการ ทา หรือพ่น เคลือบจำนวน 2 เที่ยว โดยเว้นระยะเวลาสีแห้งแต่ละเที่ยวประมาณ 8 - 10 ชั่วโมง เช่น สีเคลือบเงา เบเยอร์ชิลด์ ไดมอนด์ ซุปเปอร์กลอส อีนาเมล , เบเยอร์ชิลด์ ซุปเปอร์กลอส อีนาเมล, เบเยอร์คูล ซุปเปอร์กลอส อีนาเมล , สีน้ำมันเบเยอร์ ดูราเมล (สำหรับพื้นผิวที่ต้องการความทนทานมากที่สุด) หรือ สีน้ำมันกระทิง เป็นต้น
วิธีทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ แบบใหม่
การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบใหม่ คือการใช้ผลิตภัณฑ์สีเคลือบเงาชนิดพิเศษ ที่มีส่วนผสมของรองพื้นกันสนิมมาให้ในตัว ทำให้ลดขั้นตอนการทาวอชไพร์เมอร์ หรือรองพื้นลง จึงทำให้ช่วยลดเวลาการทำงานได้เป็นอย่างมาก โดยสีทาเหล็ก 2 in 1 ประเภทนี้ จะแห้งไวกว่าการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์แบบเก่า เป็นอย่างมาก ได้แก่ สีเคลือบเงาเหล็ก เบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน ที่เป็นสีทาเหล็กไม่ต้องทารองพื้น
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมพื้นผิว
การเตรียมพื้นผิวของการทาแบบใหม่ จะเหมือนกับการทาสีแบบเก่าเลย คือ ทำความสะอาดให้ไม่มีฝุ่น คราบสกปรกใดๆ และเพื่อให้ยึดเกาะพื้นผิวขั้นสูงสุด อาจจะหากระดาษทรายเบอร์ละเอียดมาขัดลูบบนพื้นผิวเล็กน้อย
พื้นผิวเหล็กกัลวาไนซ์เก่า
- ถ้าสภาพผิวเดิมเสื่อม หลุดล่อน จำเป็นต้องขูดลอกสีเก่าออกก่อน หรือใช้น้ำยาลอกสีเบเยอร์ ทำการลอกสีเดิมออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นผิวตามระบบ
- ถ้าสภาพผิวเดิมมีสนิม ให้พยายามขัดสนิมออกให้ได้มากที่สุด แล้วจึงทำความสะอาดพื้นผิว
- ถ้าสภาพผิวเดิมยังสมบูรณ์ หรือเป็นหลักที่ยังไม่ได้ทำสีมาก่อน
พื้นผิวเหล็กกัลวาไนซ์ใหม่
- เหล็กกัลวาไนซ์ใหม่ส่วนมากจะมีน้ำมันเคลือบอยู่เพื่อถนอมคุณภาพเหล็ก ซึ่งก่อนจะนำเหล็กนั้นไปทาสีใหม่ จำเป็นต้องเอาน้ำมันเคลือบนั้นออก โดยให้ใช้ผ้าชุบทินเนอร์ เบเยอร์ M-77 หมาดๆ เช็ดออก
ขั้นตอนที่ 2 ทาสีเคลือบเงา อเนกประสงค์ 2 In 1
หลังจากเตรียมพื้นผิวเสร็จแล้ว ก็สามารถทาสีน้ำมันทาเหล็กอเนกประสงค์ BegerShield Griptech 2 In 1 ได้เลย โดยไม่ต้องใช้วอชไพร์เมอร์ หรือรองพื้นกันสนิม จำนวน 2 เที่ยว เว้นระยะเวลาแห้งแต่ละเที่ยวเพียง 30 นาที เท่านั้น คุณก็จะได้สีเหล็กกัลวาไนซ์ที่เงาสวยโดนใจ ซึ่งข้อดีของกริปเทค คือเป็นสีสูตรอะคริลิกทำให้ทนทานกว่าสีน้ำมันทั่วไปที่เป็นแอลคีด และไม่เหลืองตัว
สรุป
- ขั้นตอน การทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ แบบเก่า จะต้องเตรียมพื้นผิว ใช้วอชไพร์เมอร์ ใช้รองพื้นกันสนิม แล้วจึงทาสีน้ำมันทับหน้า
- ในปัจจุบันสีทาเหล็กกัลวาไนซ์ ถูกพัฒนาด้วยนวัตกรรมสีแบบใหม่ เช่น สีเบเยอร์ชิลด์ กริปเทค ทูอินวัน เป็นสีทาเหล็กไม่ต้องทารองพื้นกันสนิม และไม่จำเป็นต้องใช้วอชไพร์เมอร์ ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และลดเวลาในการจบงานได้ดีกว่าแบบเดิม เพราะไม่ต้องทาสีรองพื้นกันสนิม หรือวอชไพร์เมอร์ อีกทั้งยังแห้งไว
- หากต้องการทาสีเหล็กกัลวาไนซ์ในหน้าฝน แนะนำให้ใช้วิธีใหม่จะจบงานได้ไวกว่า